น้ํามันเครื่อง: ทุก 5,000 ถึง 10,000 กม.
กรองน้ํามัน: ทุก 5,000 ถึง 10,000 กม.
กรองอากาศ: ทุก 15,000 ถึง 30,000 กม.
กรองน้ํามันเชื้อเพลิง: ทุก 20,000 ถึง 40,000 กม.
แบตเตอรี่: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
สายพานราวลิ้น (ภายในเครื่องยนต์): ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
ท่อยางน้ำมันเบรก: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
ผ้าเบรก: ทุก 30,000 ถึง 50,000 กม.
จานเบรก: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
โช้คอัพ: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
น้ํามันเบรก: ทุก 20,000 ถึง 40,000 กม.
น้ํามันพวงมาลัยเพาเวอร์: ทุก 30,000 ถึง 60,000 กม.
น้ํายาหล่อเย็น: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
หัวเทียนจุดระเบิด: ทุก 30,000 ถึง 100,000 กม.
ปลั๊กจุดระเบิด: ทุก 50,000 ถึง 100,000 กม.
หมายเหตุ
รายการทั้งหมด เป็นเพียงแนวทางโดยประมาณ อายุการใช้งานจริงของแต่ละส่วนประกอบ อาจแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และลักษณ ทั้งนี้ ควรศึกษาคู่มือประจำรถ หรือช่างผู้ชำนาญการ
รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อน โดยอาจใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว หรืออาศัยเครื่องยนต์ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้า 3 ปีะเภท แต่ละประเภท มีลักษณะที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้เป็นสรุปภาพรวมของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท
รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV : Hybrid Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์พลังงานไฟฟ้า และเครื่องยนต์สันดาปพลังงานน้ำมัน ในการขับเคลื่อน (ใช้พลังงานจากน้ำมัน และจากไฟฟ้าขับเคลื่อนร่วมกัน)
รถยนต์ไฟฟ้าแบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV : Plug-in Hybrid Electric Vehicle เป็นรถยนต์ที่พัฒาต่อมาจากรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) สามารถบรรจุไฟฟ้าจากภายนอกมาเก็บที่แบตเตอรี่ได้ มีทั้งที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป และมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV : Battery Electric Vehicle) หรือ PEV : Pure Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อน แต่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว (รถยนต์ไฟฟ้า 100%)โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ซึ่งมาจากการอัดประจุจากภายนอก (Plug-in) เท่านั้น รถยนต์ไฟฟ้าแบบนี้จึงไม่มีการปล่อยมลพิษ (CO2) โดยตรง
รถยนต์ทั้งรถพลังงานไฮโดรเจน (FCEV) และไฟฟ้า (EV) ถือเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ เทคโนโลยีทั้งสองเน้นการไม่ปล่อยมลพิษ
รถยนต์ทั้ง 2 ประเภท มีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ
รถยนต์ EV สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ง่าย ทั้งจากที่บ้าน หรือสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป
รถพลังงานไฮโดรเจน ไม่สามารถเติมเชื้อเพลิงได้ที่บ้าน และยังมีสถานีจ่ายเชื้อเพลิงน้อยอยู่มาก
อย่างไรก็ตาม รถพลังงานไฮโดรเจน มีจุดเด่นที่รักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิงเป็นระบบพลังงานหมุนเวียน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งเทคโนโลยีไฮโดรเจน ยังสามารถใช้กับรถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก รถไฟ ที่ต้องการระยะวิ่งที่ไกลกว่ารถที่ใช้ในเมือง และการเติมเชื้อเพลิงที่ใช้เวลาน้อยกว่า
เมื่อเทียบต้นทุนที่เท่ากัน ระหว่างรถยนต์ EV และ รถพลังงานไฮโดรเจน คือ รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้มากกว่ารถยนต์ EV ถึง 3 เท่า
ขอบคุณมีปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้เติมน้ำมันได้ง่ายและรวดเร็
โดยทั่วไป รถยนต์น้ำมันสามารถเดินทางได้ไกลกว่ารถยนต์ไฟฟ้าในครั้งเดียว
โดยทั่วไป รถยนต์น้ำมัน มีราคาถูกกว่ารถยนต์ไฟฟ้า
รถยนต์น้ำมันส่วนใหญ่ มีระยะทางในการขับขี่ต่อครั้ง มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า
หากคุ้นเคยกับการใช้งานรถยนต์น้ำมันอยู่แล้ว การเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัว
ข้อเสีย
ราคาเชื้อเพลิงผันผวน และอาจสูงขึ้นได้ในอนาคต
เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่มองหารถยนต์ที่ทั้งประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผสมผสานเทคโนโลยีของเครื่องยนต์สันดาปภายใน และมอเตอร์ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ทั้งสมรรถนะในการขับขี่ที่ดี และประหยัดน้ำมันกว่ารถยนต์ทั่วไป
รถไฮบริดสามารถประหยัดน้ำมันได้มากกว่ารถยนต์ทั่วไปหลายกิโลเมตรต่อลิตร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันได้อย่างมาก
การขับขี่นุ่มนวล การออกตัวและเร่งความเร็วทำได้นุ่มนวล
เทคโนโลยีทันสมัย มาพร้อมกับฟังก์ชันที่หลากหลาย
รถไฮบริดปล่อยมลพิษน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
มอเตอร์ไฟฟ้าของรถไฮบริด ช่วยให้การออกตัวและเร่งความเร็ว ทำได้นุ่มนวลและเงียบ
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยไอเสีย ทำให้ลดมลพิษทางอากาศ และภาวะโลกร้อน
ค่าไฟฟ้าในการชาร์จบ่อยครั้ง ถูกกว่าค่าน้ำมัน ทำให้ประหยัดเงินในระยะยาว
สมรรถนะสูง มีแรงบิดสูง ทำให้อัตราเร่งดี
การขับขี่เงียบสงบ และนุ่มนวลกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน
มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น ระบบช่วยเหลือการขับขี่อัตโนมัติ
เหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง เนื่องจากสถานีชาร์จไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณ
Kia Srinakarin
เครื่องบินพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ของโลก พิจารณาจากขนาดความกว้างของลำตัว ผลิตในประเทศรัสเซีย อเมริกา และยุโรป
🇷🇺 Ilyushin Il-96: ของรัสเซีย
🇺🇸 Boeing 747: ผลิตโดย Boeing สหรัฐอเมริกา ถูกใช้อย่างแพร่หลายมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันเริ่มถูกปลดระวางจากสายการบินพาณิชย์ แต่ยังถูกใช้ในรูปแบบเครื่องบินขนส่ง และเครื่องบินรัฐบาล
🇪🇺 Airbus A380: ยักษ์ใหญ่ของยุโรป มึ 2 ชั้น รับผู้โดยสารชั้นประหยัด (Economy) ได้ 850 คน ผลิตโดย Airbus ถือเป็นเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380 มีข้อจำกัดที่ต้องใช้สนามบินขนาดใหญ่ ปัจจุบันยุติการผลิตแล้ว
แรงดันอากาศที่สูงมากบนฟ้า หากใช้หน้าต่างสี่เหลี่ยม มุมของหน้าต่างจะรับแรงดันเยอะกว่าจุดอื่น ทำให้เกิดรอยร้าวได้ง่าย การออกแบบหน้าต่างให้เป็น ทรงกลม จึงช่วยกระจายแรงดันได้ดีและทำให้ปลอดภัยขึ้น!
ที่ปลายปีก (Winglets) ช่วย ลดแรงต้านอากาศ (drag) ทำให้เครื่องบินบินได้ไกลขึ้น ประหยัดน้ำมัน และลดเสียงรบกวนจากกระแสลมที่ปลายปีกอีกด้วย!
นักบินนั่งทางซ้าย และสะดวกต่อการควบคุมเครื่องเข้าสถพานรับส่งผู้โดยสาร (Gate) ส่วนด้านขวาจะใช้สำหรับโหลดสัมภาระ เติมน้ำมัน และงานภาคพื้นอื่นๆ
อุณหภูมิในห้องโดยสารถูกควบคุมให้เย็นอยู่เสมอ เพราะถ้าร้อนเกินไป อาจทำให้ผู้โดยสารหน้ามืดหรือหมดสติจากภาวะออกซิเจนต่ำ (Hypoxia) ได้!
เครื่องบินถูกฟ้าผ่าเป็นเรื่องปกติ! แต่ไม่ต้องกังวล เพราะเครื่องบินถูกออกแบบให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปโดยไม่เป็นอันตราย
สีขาวสะท้อนความร้อนได้ดี ลดการเสื่อมสภาพจากรังสี UV และยังช่วยให้เห็นรอยรั่วหรือรอยแตกร้าวของลำตัวเครื่องได้ง่ายขึ้น
ล้อเครื่องบินรองรับน้ำหนักได้ถึง 38 ตันต่อล้อ และเติมไนโตรเจน ที่มีความเสถียรสูง ไม่ขยายตัว ทำให้ล้อไม่ระเบิดและรับแรงกระแทกอย่างหนักได้ดีในขณะลงจอด
เครื่องบินก็มีแตร (Horns) แต่เสียงของแตรเครื่องบิน ไม่เหมือนกับแตรรถยนต์ทั่วไป เพราะเสียงแตรของเครื่องบิน จะออกแนวคล้ายเสียงไซเรนมากกว่า เพื่อใช้เรียกเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน (Ground Call)