LGBTQIA+ มาจาก Gender Identity และเครื่องหมาย + ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ
L : Lesbian ผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกัน
G : Gay ผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกัน
B : Bisexual คนที่รักได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
T : Transgender ผู้หญิงหรือผู้ชายที่ข้ามเพศ
Q : Queer คนที่ไม่ต้องการระบุเพศตัวเอง
I : Intersex คนที่ไม่สามารถระบุเพศได้ เนื่องจากโครงสร้างร่ายกาย เช่น โครโมโซมเพศ
A : Asexual คนที่ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ทางเพศ
Pansexual มีความสนใจ และไม่ปิดกั้นว่าคู่รักจะเป็นเพศใด
Non - binary กลุ่มคนที่คิดว่าตัวเองไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย สามารถเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา
ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพคนไทย เข้ารักษาได้ที่ ...
• สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง
• สถานพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.
ลดเวลารอรับยา จองคิวนัดแพทย์ พบหมอออนไลน์ได้
บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ได้แก่ ร้านยา คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น (ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.)
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.nhso.go.th/news/4310สอบถาม สายด่วน สปสช. 1330ผู้สูงวัยควรระวัง “ซาร์โคเพเนีย”
โรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) คือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และ ความแข็งแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการแก่ตัว หรือ การเป็นผู้สูงอายุที่..ขี้เกียจเดิน หรือ ไม่ออกกำลังกาย
พยายาม ยืน เดิน ให้มากขึ้น แต่ให้นั่ง และ นอน เท่าที่จำเป็น
หลังอายุ 60 ~ 70 ปี ยากที่จะลดน้ำหนักได้ โดยเฉพาะหากไม่ออกกำลังกาย แต่พึ่งพาการกินอาหารให้น้อยลงเพื่อลดน้ำหนัก กล้ามเนื้อทั้งหมดอาจหายไป
การเดิน และ การถีบจักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่ดี และไม่เจ็บเข่า
หากผู้วัยอายุป่วย และนอนเพียง 1 สัปดาห์ จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 5%
ผู้สูงวัยที่ไม่ทำอะไรด้วยตนเอง จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเร็วขึ้น
การพยายามเดิน หรือเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง บ่อยๆ กล้ามเนื้อทั้งหมดของร่างกาย รวมถึงการกลืนอาหาร จะดีขึ้น
โรคซาร์โคเพเนีย น่ากลัวมากกว่าโรคกระดูกพรุน โรคซาร์โคเพเนีย ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย
ผู้สูงวัยที่ไม่ค่อยเดิน หรือเคลื่อนไหวน้อย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง อย่างน้อยควรยืน-นั่งยอง (นั่งสควอต) วันละ 20-30 ครั้ง หรือยืนขึ้นทันที เมื่อก้นคุณสัมผัสที่นั่งบนเก้าอี้ วันละ 20-30 ครั้ง การเดินขึ้น-ลงบันไดทุกวัน สามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของ เดนมาร์ก พบว่าในช่วง 2 สัปดาห์ของการไม่เดิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สามารถลดประสิทธิภาพของขาลงถึง 1 ใน 3 ซึ่งเท่ากับอายุเพิ่มขึ้น 20 - 30 ปี
เมื่อใดที่กล้ามเนื้อขาอ่อนแอ ต้องใช้เวลานานในการฟื้นนาน
ครึ่งหนึ่งของกระดูก และกล้ามเนื้อ อยู่ที่สองขาของเรา
ข้อต่อ และกระดูกที่ใหญ่ที่สุด แข็งแรงที่สุด อยู่ที่ขาของเราดั
ดังนั้น จึงควรเดินทุกวัน