ปี 1928 (พ.ศ. 2471) อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ศาสตราจารย์ด้านแบคทีเรียวิทยา โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ในลอนดอน ลืมเก็บจานเพาะเชื้อ หลังจากตัวเองหยุดยาวไป แต่นั่นทำให้เขาพบว่า แบคทีเรียที่โตเต็มจานนั้น มีเชื้อราเกิดใหม่ขึ้นมาด้วย และดูเหมือนมันจะต่อต้านการเติบโตของแบคทีเรียในจุดที่มันอยู่ได้อย่างชะงัด จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นยาฆ่าเชื้อตัวสำคัญในเวลาต่อมา
ปี 1989 (พ.ศ. 2532) ปีเตอร์ ดันน์ และอัลเบิร์ต วูด นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทไฟเซอร์ คิดค้นยาเรียกว่า “ซิลเดนาฟิลซิเตรต” ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยรักษาความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัคร ดันล้มเหลว แต่กลายเป็นว่าอาสาสมัครบางคนกลับมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายที่เพิ่มขึ้น ไฟเซอร์จึงเปลี่ยนมาศึกษาเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และพัฒนาเป็นยาไวอากร้าขึ้น
ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 คุณหมออาร์โนล์ด ชาน และพอล เฮปปา จากมหาวิทยาลัยสตราเบิร์กในฝรั่งเศส ได้เผลอจ่ายยาชื่อ "อะซีตานิไลด์" ให้คนป่วย เพื่อหวังจะกำจัดพยาธิ แต่ไม่เกิดผลกับพยาธิมากนัก แต่กลับไปลดอุณหภูมิของร่างกายแทน จากนั้นจึงมีนักวิจัยอีกหลายคน นำจุดนี้ไปพัฒนาปรับแก้ไขตัวยานี้หลายครั้งเพื่อลดผลข้างเคียง จนกลายเป็นยาแก้ปวดสุดฮิตที่รู้จักกันในปัจจุบัน
ปี 1897 (พ.ศ. 2440) มีการพบสารพิษนี้ในไส้กรอกเน่า และแรกเริ่มมันจะถูกพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพ (1 กรัม ฆ่าคนได้นับล้าน) ต่อมาช่วงปี 1970 (พ.ศ. 2513) คุณหมออลัน สก็อตต์ จักษุแพทย์ นำโบทูลินัม ท็อกซิน นี้มาพัฒนาเป็นยาฉีดเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทผิดปกติ โดยเฉพาะอาการตาเหล่ ตาเข ซึ่งได้ผลดีมาก จนวันนึง คุณหมอจีน ครอเตอร์ สังเกตว่าคนไข้ตาเขที่เธอฉีดสารพิษนี้รักษา ริ้วรอยหางตา (รอยตีนกา) ลดลงได้เฉย จนมีการวิจัย และกลายเป็นหัตถการความงามขึ้นชื่อในปัจจุบัน
ขอบคุณ