บทความเทคโนโลยี
พลาสติกมีกี่ประเภท
รู้จักพลาสติกแต่ละประเภท การนำไปใช้ประโยชน์ และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อใช้ซ้ำ ได้แก่
PET : มีลักษณะใส แข็ง ทนทานแรงกระแทกได้ดี เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น โดยนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใยเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์
HDPE : มีลักษณะเป็นสีทึบ ทนทานและเหนียวกว่า PET เช่น ขวดนม ขวดแชมพู กระปุกยา เป็นต้น โดยนำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ หรือลังไม้เทียม
PVC : มีลักษณะเป็นวัสดุแข็งหรือยาง ทนน้ำมันและกันกลิ่นได้ดี แต่ไม่ทนความร้อน เช่น ของเล่นเด็ก ฟิล์มสำหรับห่ออาหาร เป็นต้น โดยนำมารีไซเคิลเป็น กรวยจราจร ท่อน้ำ เฟอร์นิเจอร์
LDPE : มีลักษณะเป็นพลาสติกยืดหยุ่นได้ ทนความร้อนและแรงกระแทกได้ดี เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว หรือหลอดพลาสติก เป็นต้น โดยนำมารีไซเคิลเป็น ถุงดำ ถังขยะ กระเบื้อง
PP : มีลักษณะเป็นพลาสติกที่ทนแรงกระแทก และทนความร้อนได้ดี เช่น กล่องใส่อาหารที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ โดยนำมารีไซเคิลเป็น กล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์
PS : มีลักษณะใส แตกได้ง่าย ไม่ควรใช้ เนื่องจากรีไซเคิลและย่อยสลายได้ยาก เช่น แผ่น CD/DVD, กล่องโฟม เป็นต้น โดยนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดไข่
พลาสติกทั้ง 6 ชนิด สามารถหลอมใหม่ได้ แต่ไม่ควรนำมาใส่อาหาร
ใครคิดค้นไขควงปากแฉก
Henry Frank Phillips ชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นไขควงปากแฉก (Crosshead / Philips-head) ในปี 2479 (ค.ศ. 1936) เป็นนวัตกรรมง่ายๆ ที่ทำให้การขันสกรูทำได้ง่ายขึ้น เพราะมันจะลงล็อกง่ายกว่าแบบปากแบน
ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า self-centering เวลาขันลงไปในรูลึกๆ สกรูปากแฉกจะลงล็อกได้ง่ายกว่า ขันง่ายกว่า
ก่อนจะมาเป็นสิทธิบัตรชิ้นนี้ Philips ได้แรงบันดาลใจจากไขควงปากแฉกอีกแบบของ John P. Thompson ที่คิดค้นขึ้นมาก่อน แต่ใช้งานยากกว่า เพราะรูลึกและแฉกบางกว่าจึงไม่ค่อยแข็งแรง
ใครเคยซื้อเครื่องจักรรุ่นเก่าๆ หรือรถยนต์โบราณมากจากฝั่งยุโรป จะพบว่าจะมีแต่สกรูปากแบนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเครื่องจักรโบราณจากเยอรมัน แผงวงจรระบบไฟฟ้ากำลัง จะเป็นสกรูแบบแบนทั้งสิ้น
ทำไมต้องโรยหินในสถานีไฟฟ้า
การโรยหินบนพื้นในสถานีไฟฟ้า มีประโยชน์มากมาย ได้แก่
ช่วยให้ลดการเกิด Step voltage (แรงดันช่วงก้าว-ไฟฟ้าบนพื้นผิว) ทำให้เราปลอดภัยเวลาเดินเข้าไปในสถานี เพื่อการบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า
ช่วยลดความหนาแน่นของสนามไฟฟ้า จกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีโอกาสรั่วออกมา เพื่อลดความรุนแรงของสนามไฟฟ้าบริเวณนั้น จึงใช้วิธีการเพิ่มพื้นที่ผิว เมื่อมีความหนาแน่นของสนามไฟฟ้าเท่าเดิม แต่มีพื้นที่ผิวของสนามไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ความหนาแน่นของสนามไฟฟ้าลดลง อันตรายลดลงด้วย นั้นเอง
ช่วยลดความรุนแรงของการระเบิด ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่ระบายความร้อนด้วยน้ำมัน อาจมีโอกาสเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วขึ้น แต่เมื่อมีหินที่มีความสูงกว่า 10 เซนติเมตร จะทำให้น้ำมันที่รั่ว ซึมลงไปใต้หิน เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้นจริง ก็จะทำให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้นั่นเอง
ช่วยป้องกันการระเหยของความชื้นที่อยู่ในดิน ทำให้ค่าความต้านทานของดินและกราวด์กริดยังคงค่าในระดับปลอดภัยอยู่เสมอ
ช่วยป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ที่ไม่ชอบพื้นที่แหลมคมของหิน ทำให้มันไม่เข้าไปยังบริเวณหม้อแปลง ท่ีทำให้เกิดการลัดวงจรในระบบอย่างแน่นอน
หมายเหตุ: หินที่ใช้ในการโรยพื้นในสถานีไฟฟ้าคือหินแกรนิตเบอร์ 2