ความพอเพียง

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนิยามความหมายของ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเผยแพร่แก่ปวงชนชาวไทยทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ น้อมนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศ

[ดร.ปรเมธี  วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]

คำว่า “พอเพียง” คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

💙 ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตที่เหมาะสม ประกอบด้วย

💙 ความมีเหตุผล

คือ การตัดสินใจที่รอบคอบ มีการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมา ไม่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมา โดยปราศจากการวิเคราะห์แยกแยะ

💙 การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งสภาพอากาศ หน้าที่การงาน และสังคม เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง อย่างไม่ประมาทอยู่เสมอ

🎀 จะเงินมากหรือเงินน้อย หากพอใช้ ก็พอ  🎀 จะขี้เหร่ หรือจะงาม หากดูได้ ก็พอ

🎀 จะแก่เฒ่า หรือจะอ่อนเยาว์ หากแข็งแรง ก็พอ  🎀 จะจน หรือจะรวย หากอยู่ได้ ก็พอ

🎀 ใครจะช้า หรือเร็ว หากกลับได้ ก็พอ  🎀 จะสาย หรือจะเช้า หากใส่ใจงาน ก็พอ