เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพ

ภัยเงียบของการไม่ออกกำลัง

ผู้สูงวัยควรระวัง “ซาร์โคเพเนีย”

โรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) คือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และ ความแข็งแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการแก่ตัว หรือ การเป็นผู้สูงอายุที่..ขี้เกียจเดิน หรือ ไม่ออกกำลังกาย

ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้


จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของ เดนมาร์ก พบว่าในช่วง 2 สัปดาห์ของการไม่เดิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สามารถลดประสิทธิภาพของขาลงถึง 1 ใน 3 ซึ่งเท่ากับอายุเพิ่มขึ้น 20 - 30 ปี

ข้อควรจำ

ดังนั้น จึงควรเดินทุกวัน

หวั่นชาวเกษียณไทย แก่ก่อนรวย

หวั่นชาวเกษียณไทย (ไม่) สำราญ เหตุเพราะแก่ก่อนรวย

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged Society) แล้ว หลายองค์การปรับตัว สร้างการจ้างงานสำหรับคนกลุ่มวัยเกษียณมากขึ้น ทั้งหาโอกาสทางการตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เตรียมรับแรงกระเพื่อมวิกฤต ‘แก่ก่อนรวย’

KKP Research ประเมินว่า ปี 2563 อายุเฉลี่ยของคนไทย อยู่ที่ 40.1 ปี สูงวัยที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ปี 2573 คนไทย 42% จะเข้าสู่วัยเกษียณ และเตรียมเกษียณ (อายุ 50 ปีขึ้นไป)

ปี 2583 สัดส่วนผู้สูงอายุ : คนวัยทำงาน จะเพิ่มขึ้นจากประมาณการ 1:4 ในปัจจุบัน เป็น 1:2 ปี 2593 และคนไทยทุก ๆ 3 คน จะเป็นคนอายุ 65+  จำนวน 1 คน

การบริโภคในปี 2573 จะเริ่มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ และตลาดสินค้าในประเทศอาจไม่เติบโตเหมือนในอดีต ทั้งจะเกิดการขาดแคลนแรงงานให้ไทยดึงดูดการลงทุนได้น้อยลง

ทั้งยังพบว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย (Aged Society) อย่างรวดเร็วต่างจากประเทศอื่น เพราะประเทศส่วนใหญ่ ล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ประชากรเฉลี่ยมีรายได้สูง เช่น ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เกาหลีใต้

ในขณะที่คไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยในเวลาที่ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้ไม่สูงเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เรียกว่า ‘แก่ก่อนรวย’ โดยไทยกำลังจะเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ของโลกที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยในขณะที่ยังติดกับรายได้ปานกลาง (Middle income trap)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาคธุรกิจของไทย อาจต้องเร่งปรับตัว และเตรียมการรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ซึ่งจะเกิดขึ้นควบคู่กับความท้าทายหลายด้านพร้อม ๆ กัน เช่นความไม่แน่นอน และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (Sustainability) ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก

นอกจากนั้น ผลวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้สูงวัยไทย มีแนวโน้มที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาทางร่างกาย จึงสนับสนุนให้เกิดแนวโน้มด้านอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ออกแบบสำหรับผู้สูงวัยไทย ให้เลือกหลากหลายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นยังประเมินว่า ภายในปี 2572 การเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงวัย (Aged Society) สู่สังคมผู้สูงวัยสุดยอด (Super aged society) หรือผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แตะ 28% ของประชากรในประเทศ อาจมาเร็วขึ้น

นับเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญต่อรัฐ ที่ต้องเร่งจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงต่อทิศทางภาพรวมของเศรษฐกิจ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น การวางแผนงบประมาณทั้งด้านสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เบี้ยผู้สูงอายุ สวัสดิการแรงงาน และที่สำคัญ สถานะความเพียงพอของกองทุนประกันสังคมในระยะข้างหน้า เป็นต้น

ขอบคุณ Marketeer Online

ทำความเข้าใจกับ LGBTQIA+

LGBTQIA+ มาจาก Gender Identity และเครื่องหมาย + ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ

L : Lesbian ผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกัน

G : Gay ผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกัน

B : Bisexual คนที่รักได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

T : Transgender ผู้หญิงหรือผู้ชายที่ข้ามเพศ

Q : Queer คนที่ไม่ต้องการระบุเพศตัวเอง

I : Intersex คนที่ไม่สามารถระบุเพศได้ เนื่องจากโครงสร้างร่ายกาย เช่น โครโมโซมเพศ

A : Asexual คนที่ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ทางเพศ

Pansexual มีความสนใจ และไม่ปิดกั้นว่าคู่รักจะเป็นเพศใด

Non - binary กลุ่มคนที่คิดว่าตัวเองไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย สามารถเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา

สามสิบบาทรักษาทุกที่

ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพคนไทย เข้ารักษาได้ที่ ...

• สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง

• สถานพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.

ลดเวลารอรับยา จองคิวนัดแพทย์ พบหมอออนไลน์ได้

บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ได้แก่ ร้านยา คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น (ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.)

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.nhso.go.th/news/4310สอบถาม สายด่วน สปสช. 1330