การอุดมศึกษารับรอง สมศ
กมอ. ต้องการให้หน่วยประเมินภายนอก มีคุณสมบัติอย่างไร และทำอะไร (อ้างอิงจากมติ กมอ. 3/64 เมื่อ 10 มีนาคม 2564
ทำความเข้าใจพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับกลุ่มสถาบันของเรา (เน้นการเรียนการสอน/ผลิตบัณฑิต) ศึกษาผลการประเมินที่ผ่านมา เพื่อกำหนดรูปแบบการประเมิน ที่สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพที่มหาวิทยาลัยกำหนดใน IQA ของมหาวิทยาลัย
จัดทีมประเมินที่มีความเชี่ยวชาญ ตามศาสตร์ที่สถาบันเปิดการเรียนการสอน
ประเมิน และให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบัน
แจ้งผลการประเมิน พร้อมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ แก่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (MHESI: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) เพื่อทราบ
หาก สมศ. ไม่สามารถทำการประเมินได้ หรือดำเนินการไม่มีคุณภาพ ก็อาจถูกยกเลิก ไม่ให้เป็นหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป
ประกาศ กมอ. ดังกล่าว เป็นเพียงการแจ้ง ‘ยอมรับ สมศ. (องค์การมหาชน) ให้เป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอก ระดับอุดมศึกษาได้'
ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยจะเลือกหน่วยงานอื่น เพื่อประเมินคุณภาพภายนอก หน่วยงานนั้นต้องมีระบบการประเมินที่เป็นมาตรฐานสากลที่อ้างอิงได้ สนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก และเทียบเคียงกับระบบการประเมินอื่นได้ โดย กมอ. รับรองการประเมิน อ้างอิงตามระบบการประกันคุณภาพภายใน (IQA)
ส่วนรูปแบบการประกันคุณภาพภายนอก (EQA) โดย สมศ. นั้น ต้องรอความชัดเจนในอนาคต
มหาวิทยาลัย/คณะวิชา ต้องทำความเข้าใจพันธกิจและยุทธศาสตร์ตน และระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละพันธกิจ/แต่ละยุทธศาสตร์ พร้อมแผนการดำเนินงานประจำปีในแต่ละพันธกิจให้ชัดเจน และควรปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร
(พันธกิจอุดมศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเรียนการสอน (2) ด้านการวิจัยและนวัตกรรม (3) ด้านบริการวิชาการ (4) ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และ (5) ด้านการบริหารจัดการ)ต้องศึกษาผลการประเมินฯ ที่ผ่านมา (ควรย้อนหลัง 3-5 ปี) `รายงานการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ` ซึ่งคณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่อง
ระบบประกันคุณภาพภายใน (IQA) ที่ สกอ. เปิดโอกาสให้เราพัฒนาขึ้นเอง รวมถึงกระบวนการที่มาของเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด และจะเป็นเป้าสำคัญที่ชี้ชัดว่า `เรามุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพตามอัตลักษณ์ของเราเพียงใด