ขบวนเรือพระที่นั่ง
เครื่องประกอบ ในขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธ์ุ
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา ดังนี้
เรือพระที่นั่ง 4 ลำ เรือสุพรรณหงส์ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เรืออนันตนาคราช เรืออเนกชาติภุชงค์
เรือรูปสัตว์ 8 ลำ เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง
เรือพิฆาต 2 ลำ เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์
เรือคู่ชัก 2 ลำ เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง
เรือประตู 2 ลำ เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น
เรือกลอง 2 ลำ เรืออีเหลือง และเรือแตงโม
เรือตำรวจ 3 ลำ
เรือดั้ง 22 ลำ
เรือแซง 7 ลำ
สำหรับการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้
ริ้วสายกลางซึ่งเป็นเรือสายสำคัญประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอก เรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจ รวมทั้งสิ้น 10 ลำ
ริ้วสายในขนาบข้างสายเรือพระที่นั่งมีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก รวมทั้งสิ้น 14 ลำ
ริ้วสายนอกประกอบด้วยเรือดั้งและเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 28 ลำ
ขอบคุณ ภาพและเรื่อง
NBT 11 ทีวีอีสาน
พระลาน
เรือพระที่นั่ง 4 ลำ
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2539 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยกองทัพเรือและกรมศิลปากร โขนเรือเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร ทรงศาสตราวุธประทับบนพญาครุฑยุดนาค เรือมีความยาว 44.30 เมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้ฝีพาย 50 นาย ถูกใช้ครั้งแรกในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปี 2539
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โขนเรือเป็นรูปหัวหงส์ลงรักปิดทอง ท้องเรือทาสีดำ ผนังภายในทาสีแดง กลางลำเรือมีพระแท่นบัลลังก์สำหรับพระมหากษัตริย์ เรือมีความยาว 44.90 เมตร และใช้กำลังพลในการพาย 50 นาย
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 โขนเรือจำหลักเป็นรูปพญานาคหลายเศียร เรียกว่า "นาคเกี้ยว" พื้นท้องเรือทาสีชมพู ผนังด้านในสีแดง มีขนาดยาว 45.40 เมตร ใช้ฝีพาย 61 นาย เรือพระที่นั่งลำนี้ เคยใช้ในพระราชพิธีสำคัญหลายรัชกาล เช่น รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งลำดับสูงสุด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โขนเรือเป็นรูปพญานาค 7 เศียร ทาสีเขียวด้านนอกและสีแดงด้านใน กลางลำเรือมีบุษบกสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปหรือเชิญผ้าพระกฐิน ใช้กำลังพลฝีพาย 54 นาย เรือพระที่นั่งลำนี้เคยใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 7
เรือรูปสัตว์ 8 ลำ
เรือพิฆาต 2 ลำ
เรือคู่ชัก 2 ลำ
เรือประตู 2 ลำ
เรือกลอง 2 ลำ
เรือตำรวจ 3 ลำ
เรือดั้ง 22 ลำ
เรือแซง 7 ลำ
นายเรือ นายท้ายคนกำกับ และฝีพาย
เครื่องดนตรี
กาพย์เห่เรือ
ขอบคุณ ภาพและเรื่อง
- NBT 11 ทีวีอีสาน
- พระลาน phralan.in.th
- Phralan Official
- Krupaarts