สูงวัยล้ม เจ็บทั้งบ้าน
คำพูดจากปากหมอฉุกเฉิน
จากการทำงานเป็นหมอฉุกเฉินมาหลายปี ทำให้รู้และเข้าใจในสัจธรรมว่า
"ในชีวิตของคน คุณจะล้มกี่ครั้งก็ได้ ตอนไหนก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ตอนแก่ "
ในช่วงฤดูฝนแทบทุกคืนที่อยู่เวร จะมีคนแก่อย่างน้อย 1 คน ลื่นล้มมา การล้มของคนแก่ไม่ใช่เรื่องปกติเหมือนในคนหนุ่มสาว หลายคนกระดูกสะโพกหัก หลายคนกระโหลกร้าวเลือดออกในสมองอัมพาตครึ่งซีก
แต่นั่นยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวที่สุด เพราะสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่จะตามมาคือ 😥 การนอนติดเตียง จากคนที่เคยเดินไปเข้าห้องน้ำได้ ต้องใช้แพมเพิร์ส ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ สิ่งที่ตามมาคือ การติดเชื้อปัสสาวะ 😥 จากคนที่เคยกินอาหารได้ปกติ อาจต้องนอนให้อาหารทางสายยยาง มีโอกาสสำลัก สิ่งที่ตามมาคือ การติดเชื้อในปอด 😥 จากครอบครัวที่ปกติ ต้องมีรายจ่ายค่าดูแลเพิ่มขึ้น บางคนต้องออกจากงานเพื่อมาดูแล
ดังนั้น ในทุกคืนที่ฝนโปรยปราย ในทุกคืนที่มีคนแก่ลื่นล้ม ในทุกคืนที่จะต้องมีคนนอนติดเตียงไปตลอดชีวิต ในทุกค่ำคืนนั้น มันจะต้องมีความเจ็บปวดของข้าพเจ้าปนอยู่ด้วยเสมอ ช่วยกันเถิดเรื่องแบบนี้เราป้องกันได้
บ้านใครมีคนแก่
ติดไฟให้ส่องสว่าง
บริเวณใดลื่น ติดราวจับหรือแผ่นกันลื่น
จัดหาอุปกรณ์ช่วยเดิน
ไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว
สำหรับตัวคนแก่เอง
อย่าไปเดินในที่สุ่มเสี่ยงต่อการลื่น
ที่สำคัญคือ อย่าดื้อ อย่ายึดถืออัตตาตัวเอง ลูกหลานเตือนหรือให้ทำอะไรเพื่อกันล้มต้องทำตาม เพราะการล้มเพียง 1 ครั้งของคุณ มันสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตืและครอบครัวคุณไปได้ตลอดกาล
"ไม่เห็นแก่ลูก ก็เห็นแก่หมอเถอะครับ "
ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (รอบปี 2559 - 2562) รายงานว่า มีจำนวนผู้สูงอายุที่บาดเจ็บเพิ่มขึ้นทุกปี คิดเป็น 29.5% จากปี 2559 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ถึง 65 ปี ตามมาด้วยกลุ่มที่อายุ 66 ถึง 69 ปี
ผู้สูงอายุที่บาดเจ็บด้วยสาเหตุการหกล้ม มีมากถึง 24,364 ราย
เห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุการหกล้มได้ง่าย และเมื่อเกิดเหตุแล้ว อาจเกิดปัญหากับกระดูก กล้ามเนื้แ เส้นเอ็นและข้อ รวมถึงสมองตามมา แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ ในวันที่ความแข็งแรงแบบหนุ่มสาวเมื่อวันหวานกำลังจางหายไป โดยมีความเสื่อมโทรมเข้ามาแทนที่
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
การมองเห็น และความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อแขนขา เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติในผู้สูงอายุ
ความเสี่ยงที่สำคัญของอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ เกิดจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายใน คือร่างกายของผู้สูงอายุเอง และปัจจัยภายนอก คือสิ่งแวดล้อมรอบรอบตัวผู้สูงอายุ
🔥 ปัจจัยภายใน
การเจ็บป่วยและโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้แขนขาอ่อนแรงขาดสมดุลในการทรงตัว โรคภาคกินสันที่ทำให้อวัยวะอยู่ในสภาวะสั่นเสี่ยงต่อการหกล้มได้มากเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงทางสายตา ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสายตา ทำให้การคาดคะเนระยะได้ไม่ถูกต้อง หรือในกรณีผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกต้อหินทำให้การมองเห็นไม่ชัดอาจเกิดการหกล้มได้
ปัญหาทางเดินปัสสาวะ ผู้สูงอายุอั้นปัสสาวะไม่อยู่ทำให้เร่งรีบเข้าห้องน้ำอาจทำให้หกล้มได้
ความเสื่อมของกระดูกและเอ็นที่อ่อนแอ ส่งผลต่อการทรงตัวทำให้หกล้มง่าย
การใช้ยาบางชนิด เช่นยาลดความดัน ยานอนหลับ ยาลดความซึมเศร้า
🔥 ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมรอบรอบตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ สภาพภายในบ้านที่ไม่ปลอดภัย เช่นพื้นหินอ่อนหินแกรนิต เมื่อเปียกน้ำทำให้ลื่นหกล้มได้ แสงสว่างไม่เพียงพอในบ้านห้องน้ำบันได หรือแม้กระทั่งการเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการหกล้ม
ผู้สูงอายุล้มคนเดียวเจ็บทั้งบ้าน
ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลที่ต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยเพราะวัยที่มากขึ้นร่างกายเปลี่ยนแปลง สายตาที่พร่ามัว หูที่ได้ยินไม่ชัด ความทรงจำที่เลอะเลือน ต่างเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่ายและเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล สภาพร่างกายที่อาจไม่เหมือนเดิม และต้องใช้เวลาพักฟื้นยาวนาน บางรายต้องนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิตที่เหลือ สร้างความทุกข์ใจกันทั้งครอบครัว
วิธีป้องกันกัน
หาอุปกรณ์ช่วยเวลาเดินสำหรับผู้สูงอายุ เพราะในวัยนี้การทรงตัวย่อมจะไม่แข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาวดังนั้น เวลาเดินควรมีตัวช่วยในการทรงตัว เพื่อป้องกันการหกล้ม เช่น ราวจับ ไม้เท้าสามขา Walker ไม้ค้ำยันต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสูง
สังเกตอาการผิดปกติด้านด้านการรับรู้ เช่น การได้ยิน ความหลงลืมวันเวลา หรือชื่อเพื่อน ชื่อลูกหลาน หรือสมาชิกในครอบครัว รวมถึงการตัดสินใจที่ช้าลง
สังเกตการมองเห็น อาการหรือสิ่งผิดปกติของการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว บอกระยะห่างที่ชัดเจนไม่ได้และการไม่สามารถแยกความแตกต่างของสี เหล่านี้ควรสังเกตเพื่อปรึกษาแพทย์ต่อไป
สังเกตความผิดปกติในการเดินการทรงตัว ผู้สูงอายุมีกลไกควบคุมการทรงตัวที่ลดลง ทำให้การยืนเฉยเฉยอาจเซได้ หรือเมื่อเด็กวิ่งชนก็สามารถทำให้ล้มได้
อุปกรณ์ภายในบ้านที่เอื้อเกาะ ไม่เกะกะแก่ผู้สูงอายุ
ทางลาดในบ้านช่วยการเดินทางกรณีผู้สูงอายุที่ใช้ใช้รถเข็น ทางลาดมีความชันไม่เกิน 5 องศา และมีความกว้าง ไม่น้อยกว่า 90 เซนต์ต
ต้องเพิ่มราวจับบริเวณทางเดิน บันได างเดินในบ้าน และในห้องน้ำ การติดตั้งราวควรออกแบบให้สูงจากพื้น ไม่น้อยกว่า 80 เซ็นต์ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง บ้านและการออกแบบ)
ขนาดเตียงนอน ต้องมความยาวไม่น้อยกว่า 180 เซ็นต์ติเมตร และสูงประมาณ 40 เซนต์ติเมตร
ต้องเพิ่มแรงเสียดทานให้พื้น เพื่อป้องกันการหกล้ม เช่น ติดแผ่นกันลื่น แถบยางกันลื่
สรุป
มูลเหตุสำคัญของการหกล้มในผู้สูงอายุ คือความเสื่อมของร่างกายผู้สูงอายุเอง ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ถดถอยลดลง ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอย่าตื่นตกใจ ให้ตั้งสติแล้วประเมินความบาดเจ็บเบื้องต้น หากไม่สามารถขยับหรือลุกได้ให้นอนในท่าที่สบาย อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยพละการ และรีบโทรสายด่วนส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล
ปรุงแต่งจากข้อเขียนของศิริพร อริยพุทธรัตน์