ภาพประทับใจ
แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 ที่ประชาชนชาวไทยซาบซึ้งในพระจริยาวัตรอันงดงามตราบนิรันดร์
ยายตุ้ม จันทนิตย์
เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2498
ยายตุ้ม จันทนิตย์ (2396-2501) แม่เฒ่าวัย 102 ปี ชาวจังหวัดนครพนม กำลังถวายดอกบัวแก่ในหลวง ร.9 เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคอีสานเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2498
แม่เฒ่าไปรอรับเสด็จพร้อมดอกบัวสายสีชมพู 3 ดอก ตั้งแต่เช้าจนบ่าย จนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจความจงรักภักดีของแม่เฒ่ายังคงเบิกบาน เมื่อในหลวงเสด็จมาถึง ตรงมาที่แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวโรยรา 3 ดอกนั้นขึ้นถวายจนเหนือศีรษะ
ในหลวง ทรงทรงแย้มพระสรวลอย่างอ่อนโยน โน้มพระองค์ลงมาจนพระพักตร์เกือบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรแม่เฒ่าอย่างนุ่มนวล ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่า แม่เฒ่าไม่มีวันลืม เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญของพระองค์
ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก- วิกิพีเดีย
นายตี นะเรศรัมย์
เมื่อ 18 ธันวาคม 2522
นายตี นะเรศรัมย์ (พ.ศ. 2492) ชาวบ้านผู้นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว เข้าเฝ้าในหลวง ร.9 เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรแหล่งน้ำในพื้นที่หนองกุดใหญ่ ณ บ้านโคกขมิ้น หมู่ 4 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2522
นายตี เล่าว่า
“ผมออกจากบ้าน ไปหว่านแหหาปลา ถึงหนองกุดใหญ่ไม่ถึง 5 นาที มีนายทหารเรียกผมให้ขึ้นจากหนองน้ำ บอกว่าในหลวงเสด็จมา ผมจึงขึ้นจากหนองน้ำ มานั่งที่บนกอหญ้า จากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาประทับตรงหน้า ที่ผมนั้งอยู่ ผมตกใจมากทำอะไรไม่ถูก
วันนั้นพระองค์ก็ได้ตรัสถามทุกข์ สุข และเรื่องอ่างเก็บน้ำหนองกุดใหญ่ด้วยความสนพระราชหฤทัย และหลังจากนั้นไม่กี่ปี ก็มีการพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองกุดใหญ่ ทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และระบายน้ำป้องกันปัญหาน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก จนมีน้ำกินน้ำใช้ และใช้ทำการเกษตรจนปัจจุบัน
ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก- PPTV และ kapook.com
ซาเจ๊ะ หม่อโป๊ะกู่
เมื่อ 11 มกราคม 2513
การที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จดอยผาหมี เมื่อปี 2513 ทรงวางรากฐานการส่งเสริมให้ปลูกพืชต่างๆ ทั้งกาแฟ ลิ้นจี่ แมคคาเดเมีย รวมถึงนำวัวพระราชทานมาให้เลี้ยง พร้อมหาจุดรับซื้อให้
การทรงเสด็จครั้งนั้น ไม่เพียงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันว่า พวกเขาก็คือคนไทย ไม่ใช่ชาวเขาเร่ร่อนไร้สัญชาติ
ซาเจ๊ะ หม่อโป๊ะกู่ หรือ พ่อหลวงซาเจ๊ะ (2487- -) อดีตผู้ใหญ่บ้านดอยผาหมี หมู่ 6 ตำบลเวียงพางคำ อ. แม่สาย จ.เชียงราย (ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์คนแรกของประเทศไทย) แสดงเหรียญที่ระลึกจากในหลวง ร.9 ที่มอบสัญชาติและชีวิตให้ชาวเขา
ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย รอบริมขอบเหรียญมีข้อความว่า ‘ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙’
ด้านหลังเป็นแผนที่ประเทศไทย ริมขอบด้านบนมีข้อความ ‘เหรียญที่ระลึกสำหรับชาวเขา’ ส่วนตรงกลางคือตัวย่อ ‘ชร’ หมายถึงจังหวัดเชียงราย ตามด้วยเลขโค้ด 036931
พ่อหลวงซาเจ๊ะเล่าว่า ชาวเขาอย่างเขาก็ไม่ต่างจากคนเถื่อน อาศัยอยู่ชายแดน มีอาชีพปลูกฝิ่น เพราะไม่รู้จะเพาะปลูกอะไร ปลูกแล้วจะไปขายที่ไหน
การที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมาส่งเสริมให้ปลูกพืชต่างๆ ทั้งกาแฟ ลิ้นจี่ แมคคาเดเมีย รวมถึงนำวัวพระราชทานมาให้เลี้ยง พร้อมหาจุดรับซื้อให้ จึงไม่ใช่แค่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้นเท่านั้น
แต่ยังเป็นการยืนยันว่า พวกเขาก็คือคนไทย ไม่ใช่ชาวเขาเร่ร่อนไร้สัญชาติ เหรียญที่อยู่ในมือพ่อหลวงซาเจ๊ะจึงไม่ใช่แค่เหรียญที่ระลึก แต่คือเหรียญที่ให้ความเป็นคนไทยกับชาวเขา
ซาเจ๊ะ หม่อโป๊ะกู่ ได้รับพระราชทานชื่อ และนามสกุลใหม่ว่า นายมนตรี พฤกษาพันธ์ทวี
ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก- becommon.co/life/king-rama9-coin/
- Mthai.com
- Facebook ย่างพระบาทที่ยาตรา
- today.line.me