การตัดแต่งต้นไม้ในเขตทางหลวง

คนส่วนใหญ่มักมองเห็นถึงปัญหาของลำต้น กิ่ง และใบ แต่มักลืมไปว่าต้นไม้ทำงานเกื้อหนุนกันทั้งรากและใบ ต้นไม้ที่อยู่ริมทางเท้าจะมีสุขภาพอ่อนแอมาก เพราะมักถูกตัดกิ่งและใบให้เหี้ยนอยู่เสมอ ส่งผลให้ต้นไม้สร้างพลังงานได้น้อย แตกหน่อกิ่งอ่อนแอ และทรงไม่สวย

ในขณะที่พื้นที่ปลูกริมทางเท้ามีเพียง 1×1 เมตร ดินที่ใช้ปลูกไม่ร่วนซุย แร่ธาตุน้อย ทำให้ระบบรากอ่อนแอ เมื่อทั้งรากและใบถูกดูแลอย่างผิดวิธี จึงส่งผลให้ปลวกหรือเชื้อราเข้ากินเนื้อในต้นไม้จนมีโพรงผุ เน่า และอาจยืนต้นตาย หรือเลวร้ายที่สุดคือต้นไม้ล้มทับบ้านเรือนทรัพย์สินประชนเสียหาย

รุกขกรประจำเครือข่ายสมาคมต้นไม้ในเมืองระบุว่า ยินดีที่นโยบายของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มีการจัดสรรให้มีรุกขกรประจำเขต เพราะจะช่วยให้ต้นไม้ได้รับการตรวจสุขภาพได้ทั่วถึงมากขึ้น และเสนอให้จัดสรรงบประมาณการบำรุงรักษาต้นไม้มากกว่าปลูกต้นไม้เพิ่ม เพราะหากปลูกมาแล้วขาดการดูแลที่ดี ตัดแต่งกันแบบผิด ๆ จะยิ่งเป็นการเพิ่มต้นไม้ที่สุขภาพไม่ดีเข้ามาอยู่ในเมือง

THE STANDARD จึงนำเสนอวิธีการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองเบื้องต้นในระดับที่ทุกคนสามารถแยกแยะได้โดยคร่าวว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ เพราะหน้าที่การดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองไม่ได้เป็นหน้าที่ของรุกขกรเพียงคนเดียว หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมจับตามอง และช่วยกันรายงาน เมื่อมีเหตุการตัดต้นไม้แบบผิดวิธี

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

เรื่องและภาพ: พีรดนย์ ภาคีเนตร

ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปไซต์ The Standard