ฤาษีดัดตน

โยคะสายตา

  • 15 ท่ากายบริหารแบบฤาษีดัดตน

ความเป็นมา

ฤาษี หมายถึง นักพรตหรือนักบวชในตำนานหรือนิทานโบราณ ที่อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ในความเป็นจริงของสังคมไทยในอดีต น่าจะมีนักบวชประเภทนี้เเสวงหาความ สุขอยู่ตามป่าเขา บำเพ็ญเพียร นั่งสมาธินานๆ อาจมีอาการเมื่อยขบได้ เมื่อทดลองขยับเขยื้อนร่างกาย การยืดข้อพับ เเละเกร็งตัวดัดตน ทำให้เกิดท่าต่างๆ เเล้วทำให้อาการเจ็บป่วย เมื่อยขบหายไป จึงได้สรุปประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา หรืออาจเกิดจากการคิดค้นโดยคนธรรมดาทั่วไป

ในสังคมไทย เรามีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการปฏิบัติตน และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า คนไทยเคารพนับถือ ฤาษี เป็นครูบาอาจารย์ การปั้นเป็นรูปฤาษี เเละระบุชื่อฤาษีผู้คิดค้นท่า อาจเป็นกลวิธีทำให้ เกิดความขลัง เพราะผู้ฝึกต้องมาฝึกทำท่ากับรูปปั้น เท่ากับฝึกหัดกับครู เพราะฤาษีเป็นครูของศิลปะ วิทยาการ ทุกสาขา ท่าดัดตนส่วนใหญ่ เป็นท่าตามอิริยาบทของคนไทย ที่มีความสุภาพ เเละสามารถปฏิบัติได้โดยคนทั่วไป ในจำนวนท่าฤาษีดัดตน 127 ท่า มีท่าเเบบจีน 1 ท่า เเบบเเขก 1 ท่า ท่าดัดคู่ 2 ท่า

ประโยชน์ท่าบริหาร ฤาษีดัดตน

การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนที่คัดเลือกมาใช้นี้มีอยู่ 15 ท่า จากทั้งหมด 127 ท่า เป็นท่าที่สามารถบริหารร่างกายได้ครอบคลุมทุกส่วนตั้งเเต่ ใบหน้า คอ ไหล่ เเขน ท้อง ไปจนถึงเท้านอกจากใช้เป็นท่าในการบริหารร่างกายเเล้ว ท่าต่างๆ ที่ใช้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคเบื้องต้นได้อีกด้วย นับว่ามีประโยชน์เป็นอันมาก ได้เเก่

  1. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเเขนขาหรือข้อต่อต่างๆ ให้เป็นไปอย่างคล่องเเคล่ว นับว่าเน้นการนวดด้วย ซึ่งบางท่าจะมีการกด หรือบีบนวดร่วมไปด้วย

  2. ทำให้โลหิตหมุนเวียนเลือดลม เดินได้สะดวกดีขึ้น นับเป็นการออกกำลังกาย ที่สามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบทของคนไทย

  3. เป็นการต่อต้านโรคภัยบำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว

  4. มีการใช้สมาธิร่วมด้วย จะช่วยยกระดับจิตใจให้พ้นอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด ความง่วง ความท้อเเท้ ความเครียดเป็นต้น เเละช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ หากมีการฝึกการหายใจร่วมด้วย

การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน จะเกิดประโยชน์สูงสุด หากหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี เเละมีความสัมพันธ์กับการยืดหดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เเละข้อต่างๆ ของร่างกาย

  • ทาบมือลงบนโต๊ะ แล้วกระดกนิ้วขึ้นทีละนิ้ว แล้วตามด้วยกระดกนิ้วทุกนิ้วขึ้นพร้อมกัน ทำครั้งละ 12 ครั้ง

  • ทำมือเป็นสัญลักษณ์ตัว O โดยไล่ไปทีละนิ้ว ค้างไว้นิ้วละ 30 วินาที ทำทั้งสองมือซ้ายและมือขวา อย่างน้อยข้างละ 4 ครั้ง

  • ทำนิ้วหงิกตามภาพ ทำค้างไว้ 30 วินาที แล้วปล่อย ทำทั้งสองมือซ้ายและมือขวา อย่างน้อยข้างละ 4 ครั้ง

โยคะสายตา

  • ถนอมสายตาด้วยโยคะ

โยคะถนอมสายตา ง่าย​​ๆ เพื่อสุขภาพตาที่ดี

ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ มักใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต และมือถือ ทั้งเพื่อการงาน และบันเทิง การใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหากับดวงตาได้

วิธีง่ายๆ 6 ขั้นตอน

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จัดทำกราฟฟิคแนะนำการทำโยคะถนอมสายตา ด้วยวิธีการง่ายๆ 6 ขั้นตอน ทั้งนี้ ผู้ที่สวมแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออกก่อน ขั้นตอนการทำโยคะ มีดังนี้

  1. หลับตา ดูฝ่ามือจนรู้สึกอุ่น แนบฝ่ามือที่เปลือกตา 1 นาที หายใจลึกๆ เอามือออกลืมตาขึ้น

  2. เคลื่อนลูกตาจากซ้ายไปขวา โดยมองตรงไปที่ไกลๆ จากมุมซ้ายสุดไปยังมุมขวาสุด 4 ครั้ง

  3. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 แล้วเคลื่อนลูกตาจากมุมขวาบนลงมามุมซ้ายล่าย ลักษณะทแยงมุม 4 ครั้ง

  4. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 แล้วกวาดสายตาเป็นวงตามเข็มนาฬิกา 4 รอบ

  5. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 แล้วเคลื่อนตาจากบนสุดลงมาล่างสุดช้าๆ 4 ครั้ง

  6. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง

หากอ้างว่ายุ่ง ไม่มีเวลาโยคะดวงตา ให้หลับตาสั้นๆ 5 นาที สวมแว่นตาที่กรองแสงยูวี และรับประทานอาหารที่มีวิตามิน A สูง รวมถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่