การนอนเพื่อสุขภาพ
- นอนกลางวันมีประโยชน์
- ข้อดีของการไม่สวมเสื้อผ้านอน
- นอนเป็นช่วยให้ผ่องใส
การนอนดึก ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ 5 อวัยวะหลักเสื่อมเร็ว
สมอง
หัวใจ
หลอดเลือด
ต่อมไร้ท่อ
ภูมิคุ้มกันร่างกาย
หากรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ให้นอนก่อน 4 ทุ่ม จะช่วยสุขภาพดีขึ้น 9 ประการ
สมองสร้างเคมีฯ ที่มีประโยชน์กับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สมองเป็นส่วนสำคัญในการแจกงานให้อวัยวะต่าง ๆ แม้แต่เวลานอนก็ยังทำให้ร่างกายได้รับ เคมีนิทรา (เมลาโทนิน), เคมีสุข (ซีโรโทนิน),ฮอร์โมนเพศและเคมีหนุ่มสาว(โกรทฮอร์โมน)แถมยังมีเคมีบำรุงออกมาควบคุมระบบในตัวเราให้ทำงานราบรื่น ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ทำให้ดูอ่อนเยาว์ สร้างเกราะป้องกันอาการป่วยได้ด้วย
สมองมีความจำดีขึ้น การศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ระบุว่า คนที่นอนหลับได้แค่ราว 4 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกันนาน ๆ มีผลต่อความจำและสมาธิมากขึ้น นั่นก็เพราะเวลาเรานอน สมองจะมีกลไกช่วยจัดระเบียบคล้ายกับการแยกอีเมลขยะออกไป แต่ถ้าเราอดนอน เราจะรู้สึกมึน ลืมง่าย หรือไม่ก็ลิ้นพันกัน คิดอย่างพูดอย่าง
คุมความดันโลหิตได้ การนอนหลับเร็ว จะช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลาย และกลไกทางชีววิทยาที่เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดจิ๋วทำงานซับซ้อนช่วยควบคุมหัวใจ และความดันโลหิตให้สงบลง ไม่แกว่งขึ้นลงง่ายเหมือนกับตอนตื่นนอน
ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ การนอนไวช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ช่วยให้สมองได้พักผ่อน กล้ามเนื้อคลาย ตัว หัวใจสงบขึ้น ความดันลดลง
ได้ล้างพิษ เวลาที่เรานอนจะเป็นช่วง เวลาที่อวัยวะอย่าง ตับ ไต ลำไส้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น
ไม่อ้วนง่าย การนอนเร็วช่วยคุมน้ำหนัก ตัวได้ดีกว่า อีกทั้งยังกระตุ้นเตาเผาใน ร่างกายให้ทำงานได้ดี ช่วยให้ไม่อ้วนง่าย ไม่สร้างเคมีเก็บไขมันมากด้วย
มีสุขภาพดีขึ้น ถ้าเรานอนให้เร็วขึ้น เรา จะได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายและสมอง ได้พักผ่อน ความจำดี มีสมาธิ มองอะไร ก็มีความสุขได้ง่ายขึ้น
โรคไม่กำเริบ การนอนไวไม่เสี่ยงต่อโรค กำเริบโดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ โรคเครียดซึมเศร้า และโรคมะเร็ง
ชะลอความแก่ นอนตั้งแต่หัวค่ำ เพราะ แค่นอนก็ช่วยเสริมสร้างความหนุ่มสาว และช่วยให้หลับสนิททั้งหลายไม่ทำร้ายร่างกายก่อนวัยอันควร จึงป้องกันความเสื่อมชรา
ท่านอนที่ดี และไม่ดีต่อสุขภาพ
นอนอย่างไรให้หลับสนิท
- นอนหลับให้สนิทได้อย่างไร
- นอนให้เต็มอิ่มได้อย่างไร
- ระยะเวลาการนอนมีผลต่อสมองอย่างไร
- นอนนานเท่าใดจึงเพียงพอ
- เคล็ดลับการนอนให้หลับสบาย
การนอนหลับให้เพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หลายคนมีอาการนอนไม่หลับ เป็นที่มาของปัญหาอื่นๆ ตามมา เว็บไซต์ Sleepfoundation ได้แนะนำเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้คุณนอนหลับสนิทตลอดคืนได้
กำหนดเวลานอนให้ชัดเจน ไม่เว้นแม้แต่วันหยุด เพื่อให้นาฬิกาชีวิต จดจำเวลาของร่างกายได้ เมื่อถึงเวลาก็จะรู้สึกง่วงนอนทันที
หลีกเลี่ยงการงีบระหว่างวัน หากใครมีปัญหานอนไม่หลับ ให้โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางวัน แม้จะช่วยเพิ่มพลังระหว่างวันได้ก็ตาม เพราะจะทำให้ไม่ง่วงในตอนกลางคืน
ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน อาจไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนัก ขอเพียงขยับเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าช่วงเวลาใดของวัน เว้นแต่การออกกำลังกายนั้น จะเบียดเบียนเวลานอนของคุณ
จัดห้องนอนให้เรียบร้อย ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการนอน ซึ่งควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป ไม่มีเสียงรบกวนการนอน ไม่มีแสงส่องเข้าถึงในห้อง โดยอาจพึ่งอุปกรณ์ช่วย เช่น ม่านกันแสง ผ้าปิดตา ที่อุดหู เป็นต้น
นอนบนที่นอนและหมอนนุ่มสบาย ซึ่งนอกจากจะต้องนุ่มสบาย เหมาะแก่การนอนหลับแล้ว ยังดีต่อสุขภาพ เครื่องนอนต้องไม่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ โดยปกติชุดเครื่องนอนจะมีประสิทธิภาพใช้งานได้ดี ระหว่าง 9-10 ปี
หลีกเลี่ยงแสงสีขาว เพราะจะทำให้ร่างกายเข้าใจว่าเป็นช่วงเช้า ทำให้ตื่นและไม่อาจนอนหลับได้ หลอดไฟในห้องควรใช้ แสงกึ่งเหลืองกึ่งขาว (cool white) ไปจนถึงแสงสีเหลืองส้ม (warm white)
หลีกเลี่ยงการทำงานในห้องนอน เพราะความเครียดหรือภาวะจากงาน จะกระตุ้นให้นอนไม่หลับ
ควรทำกิจกรรมผ่อนคลาย ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมงก่อนนอนหลับ เช่น การอ่านหนังสือ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่กระตุ้นให้สมองตื่นตัว เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะหลับสนิท
นำวัสดุ/อุปกรณ์อื่นออกจากเตียงนอน เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เพื่อให้เตียงใช้นอนอย่างจริงจัง เท่านั้น
มาตรการสุดท้ายคือ ทำกิจกรรมอื่นๆ จนรู้สึกเหนื่อยเต็มที่ก่อนนอน
คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับการนอนเพื่อสุขภาพ
ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอเหล่านี้ จากสังคมออนไลน์