สมุนไพร และแพทย์ทางเลือก
- การดูแลตนเองแบบแพทย์แผนจีน
- สิ่งควรดูก่อนซื้อยาสมุนไพร
- กดจุดบรรเทาปวดศีรษะ
- ขิงหลากสรรพคุณ
- สูตรสมุนไพร บันเทาอาการเบาหวาน และเก๊าซ์
- รู้จักถั่งเช่า
กระท่อม กัญชา กัญชง
- กฎหมายใบกระท่อม
- ประโยชน์ใบกระท่อม
- กระท่อมประเภทต่าง ๆ
บทความ เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย และพืชสมุนไพร
มะระขมเป็นยา
สารขมในมะระ
เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยให้ออกมาก ช่วยให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น คนโบราณนิยมนำมะระไปลวกหรือเผา รับประทานกับน้ำพริก ว่ากันว่าช่วยทำให้น้ำพริกอร่อยขึ้น ทั้งยังมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้นได้ด้วย
สารอาหารในมะระ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) และมีเอนไซม์ ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาล กับคาร์โบไฮเดรต ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ที่เกิดจากโรคตับ และโรคเบาหวานได้
ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า หรือม้ามอักเสบ แนะนำให้รับประทานมะระเป็นประจำ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อาจรับประทานแบบดิบกับน้ำพริก ขนมจีน หรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้ แต่หากไม่ชอบรับประทานอาหารรสขม ควรนำไปต้ม หรือตุ๋น ก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะในมะระมีฤทธิ์เป็นยาระบาย อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
แช่เท้าในนำ้อุ่น
สุขภาพของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการไหลเวียนของกระแสเลือด น้ำเหลือง และกระแสประสาทที่ดี ร่างกายของเราเหมือนเครือข่ายการไหลเวียนที่ซับซ้อน และละเอียดอ่อน
ทุกส่วนเชื่อมโยงประสานงาน โดยเฉพาะเท้า เป็นช่องทางไหลเวียนขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับร่างกาย โอกาสที่จะอุดตันจากของเสียต่างๆ จึงเกิดได้ง่าย หากไม่ขยับขยายช่องทางที่อุดตัน อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ เป็นลำดับต่อเนื่องกันไป อันอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพได้
ธรรมชาติให้เราเดินเท้าเปล่าสัมผัสพื้นดิน ซึ่งการเดินบนทางที่มีกรวดหินกิ่งไม้ใบไม้ จะช่วยกดนวดขยับขยายช่องทางไหลเวียนโดยอัตโนมัติ แต่ชีวิตคนยุคนี้ เราเดินอยู่บนรองเท้า หรือพื้นอาคารเรียบๆ และไม่ได้สัมผัสพื้นดินเลย (แถมนิยมเดินบนพื้นที่นุ่มเสียด้วยซ้ำ) หากเราได้รับการบีบนวด ขยับขยายช่องทางไหลเวียนในเท้าได้บ่อยๆ สุขภาพก็จะดี
การแช่เท้าในน้ำอุ่น
น้ำอุ่น ช่วยให้ช่องทางต่างๆ ขยายตัว ของเสียที่อุดตันอยู่ มีโอกาสหลุดออก ทำให้ช่องทางไหลเวียนสะอาดโล่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบีบนวดไปด้วย ก็ยิ่งทำให้เท้ากลับมาเป็นช่องทางไหลเวียนที่ดีขึ้นโดยเร็ว สุขภาพย่อมดีขึ้นโดยเร็วด้วย
ควรแช่เมื่อใด
แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่น 5-10นาที "ก่อนนอนทุกคืน" คุณจะหลับสบาย หลับลึก โดยไม่ต้องใช้ยาเคมีที่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ แช่เท้าเสร็จแล้ว ควรเข้านอนทันที
จำเป็นต้องบีบนวดหรือใส่เกลือหรือไม่
น้ำเกลือ ช่วยดูดซับประจุเสียจากร่างกายได้ เทียบเท่ากับการสัมผัสพื้นดินด้วยเท้าเปล่า แนะนำให้ทำสัปดาห์ละ1-2 ครั้ง ใส่เกลือ 1-2 ช้อนชาต่อน้ำแช่เท้า 1 กะละมัง การบีบนวดช่วยให้ของเสียอุดตันหลุดง่ายขึ้น แต่หากบีบนวดไม่สะดวก เพราะอ้วน หรือเอวตึงขาตึงก็ขอให้แช่เท้าในน้ำอุ่นจัดสักหน่อย
ขั้นตอนการบีบนวด
สันด้านข้างเท้าด้านใน เป็นแนวกระดูกสันหลัง บีบนวดไล่จากสันเท้าขึ้นไปถึงนิ้วหัวแม่เท้า เทียบเท่าการดูแลกระดูกสันหลัง จากก้นกบขึ้นไปถึงศีรษะ จะช่วยให้ทุกๆ ระบบซึ่งเชื่อมต่อกับกระดูกสันหลังทำงานดี
จับนิ้วเท้าแต่ละนิ้ว โยกซ้าย-ขวา-ขึ้น-ลง-หมุนไป-หมุนกลับ เทียบเท่ากับหมุนคอช่วยให้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
งอนิ้วล้วงจากโคนนิ้วเท้าขึ้นมาปลายนิ้วทุกนิ้ว เทียบเท่ากับการนวดคอและท้ายทอย ทำให้เลือดไปเลี้ยงจมูก ตา หู มากขึ้น
นวดหลังเท้าและข้อเท้า เทียบเท่ากับนวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ต่อมน้ำเหลืองของร่างกายด้านหน้าและเอว
นวดฝ่าเท้า ส่วนที่ชิดโคนนิ้วเท้า เท่ากับนวดบ่า ส่วนกลางเท้า คือ ระบบอวัยวะภายในช่องอก ช่องท้องช่วยให้การย่อยอาหารและขับถ่ายดีขึ้น
นวดข้างเท้าด้านนอก เทียบเท่ากับนวดแขนขา นวดใต้ตาตุ่ม ช่วยให้ข้อสะโพกสบายขึ้น
นวดบริเวณด้านข้างของส้นเท้า ทั้งด้านนอกและด้านใน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทั้งเพศชายและเพศหญิง สำหรับผู้ที่เข้าวัยทอง
มะกรูดพืชมงคลยา
มะกรูด เป็นพืชตระกูล ส้ม (Citrus) โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมายาวนาน โดยทั่วไปมักจะนิยมใช้ใบมะกรูด และผิวมะกรูด เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
นอกจากจะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่างๆ แล้ว มะกรูดยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงาม และในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ มะกรูด ยังถือเป็นไม้มงคล ที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
สารเคมีที่สำคัญในผลมะกรูด คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือก ผล ผิว และใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และใบจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ยังมีจุดเด่นที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่า นั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ สามารถนำใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย
การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอก หลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทานั้น สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้
มะกรูดช่วยเรื่องผมและศรีษะ
ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูด ยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่าย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม จากครีมนวดผมหรือทรีทเม้นท์บำรุง ฝุ่นระออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุผมแห้งกรอบ
เพียงใช้น้ำมะกรูดชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็น จะทำให้ผมเงางาม และมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
ใช้รักษารังแค และชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาชันนะตุได้
ประโยชน์ของมะกรูด
เนื่องจากน้ำมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอด และมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้ง ก็เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจอีกต่อไป
ใบมะกรูด และน้ำมะกรูด สามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้ ใช้ในการประกอบอาหาร และแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อคั้นน้ำแล้ว อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
ปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูล เพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อยๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
มะกรูดช่วยแก้ปัญหากลิ่น
โดยเฉพาะกลิ่นเท้าเหม็น กลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่าๆกัน นำมาต้มรอให้อุ่น แล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
การใช้มะกรูดดูดกลิ่นในรองเท้า หรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบาง หรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจด
ช่วยทำความสะอาดครบตามซอกเท้า เพื่อลดความหมักหมม ด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน สะระแหน่ 1/2 ส่วน น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด
มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง และต้านทานโรค
ช่วยทำให้เจริญอาหาร
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน บดให้เป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อน หรือต้มเป็นน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล,ราก)
ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการนำผลมะกรูด มาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียม และบดจนเป็นผง ละลายกับน้ำผึ้ง ไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณเหงือก
ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
การอบซาวนาสมุนไพร เพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น
วิธีทำชาใบมะกรูด
นำใบมะกรูดแก่ๆ 1 กำมือ ประมาณ 7-10 ใบล้างน้ำให้สะอาด ต้มโดยใช้น้ำประมาณ 3 แก้ว เดือดประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มเป็นประจำ เช้า-เย็น แบบน้ำชาได้เลย แต่ถ้าต้องการให้ดื่มง่ายๆ ให้ใส่น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะเพิ่มแล้วแต่ชอบหวานมากหรือน้อย
อ้างอิงwww.rspg.or.th, www.learners.in.th , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ข้อมูลจากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง โดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช. ศูนย์บริการการสาธารณสุขบัวหลวงมีประโยชน์
รากและเม็ดบัว มีรสหวานเย็น และมันเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง (ราก เม็ดบัว ดอก)
บำรุงร่างกาย แก้กษัย (เม็ดบัว ใบอ่อน กลีบดอก)
เม็ด บัวมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยเพิ่มพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วยใหม่ๆ ที่ยังมีอาการอ่อนเพลียอยู่ หรือใช้เป็นอาหารบำรุงกำลังของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาเจียน (เม็ดบัว) หรือใช้รากต้มเป็นน้ำกระสายดื่ม แก้อาการอ่อนเพลียก็ได้ (ราก) ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เม็ดบัว)
สรรพคุณดอกบัวหลวง ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น และช่วยลดอาการใจสั่น (ดอก เกสร กลีบดอก)
บำรุงโลหิต (เม็ดบัว ใบแก่)
ลดความดันโลหิตสูงและลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยต้มกับน้ำพอท่วมจนเดือดประมาณ 10-15 นาที ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง โดยให้ดื่มติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน และตรวจสัดความดันเป็นระยะ พร้อมทั้งสังเกตอาการ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ปวดท้ายทอย หากดื่มแล้วความดันโลหิตลดลงก็ต้องหมั่นตรวจวัดความดันอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตอาการดังกล่าวไปด้วย ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกควรรีบไปพบแพทย์ (ใบ) หรือจะใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ก็มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ในกรณีที่เส้นเลือดตีบ (ดีบัว)
บำรุงประสาท และสมอง (เม็ดบัว เกสร)
ผ่อนคลายความเครียด อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
รากช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ทำให้หลับสบาย โดยมีฤทธิ์ไม่แรงมากนัก (ราก)
เม็ดบัวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มีคุณสมบัติช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับ (เม็ดบัว)
ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และผิวพรรณ (เม็ดบัว)
เกสร นำมาใช้ปรุงเป็นยาหอม เป็นยาชูกำลัง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นยาสงบประสาท และช่วยขับเสมหะ โดยใช้เกสรแห้งนำมาบดเป็นผงครั้งละ 0.5-1ช้อนชา ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม หากเป็นเกสรสด ให้ใช้ประมาณ 1 หยิบมือ นำมาชงกับร้อน 1 แก้ว (ขนาดประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วนำมาดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 รอบ (เกสรตัวผู้)
บำรุงหัวใจ (ดอก,เกสรตัวผู้,เม็ดบัว)
ดีบัวมีสาร Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบในหัวใจเนื่องจากมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และช่วยบำรุงหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ดีบัวแห้ง 1 หยิบมือ นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้วปกติ แล้วใช้ดื่มในขณะที่ยังอุ่นๆ ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือจะปั้นเป็นเม็ดขนาด 0.5 กรัม ใช้กินครั้งละ 3-5 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ แถมยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ไข้และช่วยบำรุงร่างกายได้อีกด้วย (ดีบัว)
ควบคุมธาตุในร่างกาย (เกสรตัวผู้)
เหง้าหรือรากบัวใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก (ราก)
ลดไข้ (ราก ดีบัว) ช่วยแก้ไข้ (เกสรตัวผู้ ใบแก่ ดอก)
แก้ไข้รากสาด และไข้มีพิษร้อน (ดอก,เกสร)
ระงับอาการหวัดคัดจมูก ลดเสมหะ ด้วยการใช้ใบบัวมาหั่นเป็นฝอยแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ทำเป็นมวนสูบเพื่อช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก (ใบ)
ใบแก่ใช้สูดกลิ่น ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก (ก้านดอก,ใบแก่)
แก้อาการไอ (ราก)
แก้เสมหะ (ราก เหง้า เม็ดบัว ดอก เกสรตัวผู้)
แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกสร เม็ดบัว ราก)
แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
แก้ลม (เกสร)
แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)
แก้อาการเลือดกำเดาไหล (เกสรตัวผู้)
แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก,เม็ดบัว) หรือใช้ใบ หั่นเป็นฝอยชงดื่มแทนน้ำชา ก็ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้เช่นกัน (ใบ) หรือใช้ดีบัวต้มน้ำดื่มมีสรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำด้วยเช่นกัน และยังช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็นเลือดได้ด้วย (ดีบัว)
บำรุงปอด (เกสรตัวผู้)
แก้อาการท้องเสีย (เกสรตัวผู้ ฝัก เปลือกฝัก)
แก้อาการท้องเดิน (ยางจากก้านใบและก้านดอก เปลือกฝัก)
กลีบดอกชั้นใน และก้านใบ ใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบ กลีบดอกชั้นใน) ส่วนชาวอินเดียจะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อช่วยระงับอาการท้องร่วง (ราก,สายบัว)
กลีบดอกชั้นในนำมาตำใช้พอกแก้โรคซิฟิลิส (กลีบดอกชั้นใน)
เม็ดบัวช่วยรักษาอาการท้องร่วงและบิดเรื้อรัง (เม็ดบัว)
แก้ลำไส้อักเสบ (เม็ดบัว)
สมานแผลในมดลูก (เปลือกฝัก)
ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย (ดอก เกสรตัวผู้ ราก)
แก้อาการตกขาวของสตรี (เกสรตัวผู้)
แก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ (เกสรตัวผู้ เม็ดบัว)
บำรุงถุงน้ำดี (ดีบัว)
แก้ดีพิการ (ราก,เม็ดบัว)
บำรุงตับ (เกสรตัวผู้)
บำรุงไต ม้าม ตับ (เม็ดบัว)
ดีบัวมีสรรพคุณช่วยแก้อหิวาตกโรค โดยชงดีบัวในน้ำร้อน แล้วดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง (ดีบัว)
แก้พุพอง (ราก,เม็ดบัว)
รากหรือเหง้ามีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด (ราก ดอก กลีบดอก ก้านใบ)
สมานแผล (ดอก เกสรตัวผู้ เปลือกฝัก)
แก้อาการน้ำกามเคลื่อน หรืออาการฝันเปียก (เกสรตัวผู้ เม็ดบัว ดีบัว)
ดอกบัวหลวง ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (ดอก)
แก้พิษเห็ดเมา (ฝัก)
แก้พิษจากการรับประทานเห็ดพิษ และอาการเป็นพิษจากพิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ทั้งต้น)
รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบได้ ด้วยการนำใบบัวหลวงมาล้างให้สะอาดแล้วโขลกให้ละเอียด จากนั้นสกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำสารสกัดที่ได้มาทาบริเวณที่มีอาการ (ใบ)
บำรุงไขข้อ เส้นเอ็น แก้โรคข้อต่างๆ (เม็ดบัว)
แก้อาการช้ำใน (ดอก)
บำรุงครรภ์ของสตรี (เม็ดบัว ดีบัว ดอกบัว)
เพิ่มแรงเบ่งขณะคลอดบุตรของสตรี (ใบแก่) ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย (ดอกบัว)
ขับรกออกมาให้เร็วขึ้น (ฝัก)
มะม่วงมีประโยชน์
ประโยชน์จากมะม่วง
มะม่วง เป็นผลไม้ที่มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ วิตามินบี 6 วิตามินเอ และวิตามินซี รวมทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี นอกจากนี้ก็ยังมีเควอซิทิน (Quercetin) เบต้าแคโรทีน (Beta Carotine) กรดโฟลิก และ แอสตรากาลิน (astragalin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีทรงพลัง ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ ริ้วรอยก่อนวัย โรคมะเร็ง หรือภาวะเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระ
คุณค่าทางอาหารในมะม่วงดิบ 100 กรัม
น้ำ 83.46 กรัม พลังงาน 60 กิโลแคลอรี โปรตีน 0.82 กรัม ไฟเบอร์ 1.6 กรัม น้ำตาล 13.66 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.16 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 168 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม สังกะสี 0.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.119 มิลลิกรัม วิตามินเอ 1,082 ยูนิต
คุณประโยชน์ของมะม่วง
1. ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต
มะม่วงมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม สารอาหารที่สำคัญต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันโลหิตถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปกติ นอกจากนี้มะม่วงยังมีวิตามินอี ที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศด้วย
2. ป้องกันโรคมะเร็ง
สารประกอบที่พบในมะม่วง เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทริน (isoquercitrin) แอสตรากาลิน (astragalin) ไฟเซติน (fisetin) เมทิลแกทเลท (methylgallat) มีฤทธิ์ต้านนุมูลอิสระ ที่ทำหน้าที่ในการตอต้านการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีเพคติน (pectin) สูง และมีผลการวิจัยพบว่าสารเพคตินนี้ มีผลต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้
3. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
มะม่วงมีเอนไซม์ ที่ช่วยย่อยสลายโปรตีนให้ง่ายต่อการดูดซึมของร่างกาย ขณะที่ไฟเบอร์ในมะม่วงก็สามารถช่วยในการย่อยอาหารได้อีกด้วย
4. ป้องกันโรคหัวใจ
วิตามินเอ และวิตามินอี ในมะม่วง รวมทั้งซีลีเนียม (Selenium) สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ นอกจากนั้น มะม่วงยังมีวิตามินบี 6 ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ด้วยการลดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) เพราะโฮโมซิสเตอีนนี่เป็นกรดอะมิโนที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง
5. ลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในร่างกาย
เพคติน และวิตามินซี เป็นสารอาหารหลักในมะม่วง ที่สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีในร่างกายได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูง ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทาน
6. บำรุงสมอง
วิตามินบี 6 ในมะม่วง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ป้องกัน และสร้างเสริมการทำงานของสมอง เพราะวิตามินบี 6 มีส่วนสำคัญในการทำงานของสารสื่อประสาท ที่มีส่วนช่วยในการกำหนดอารมณ์และรูปแบบการนอนหลับ การเติมมะม่วงลงไปในอาหารจะช่วยให้ร่างกายได้รับกลูตาไมน์ (Glutamine) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้สมองสามารถจดจำและมีสมาดีขึ้น และยังทำให้เซลล์สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาด้วย
7. รักษาโรคเบาหวาน
วิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุดสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานคือ การไม่รับประทานของหวาน ซึ่งมะม่วงก็เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง แต่ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ เพียงแค่นำใบมะม่วง 10-15 ใบแช่ลงในน้ำอุ่นและปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ข้ามคืน ตอนเช้านำมาดื่มในขณะท้องว่าง จะสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ วิธีนี้สามารถรับประทานได้ทั้งคนที่เป็นเบาหวานหรือไม่เป็นก็ได้ หากผู้ที่มีสุขภาพปกติดื่มน้ำแช่ใบมะม่วง ก็จะยิ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น
8. บำรุงสายตา
วิตามินเอ ที่สูงมากในมะม่วง ช่วยบำรุงสายตาให้ใสปิ๊งอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องการการเสื่อมของจอประสาทตาเมื่ออายุมากขึ้นได้อีกด้วย
9. บำรุงผิวพรรณ
วิตามินเอ ในมะม่วงมีคุณประโยชน์เพียบพร้อม แม้เรื่องผิวพรรณ การรับประทานมะม่วง ทำให้ได้รับวิตามินเอ ที่ช่วยกระตุ้นการใหลเวียนของเลือดในเนื้อเยื่อและผิวหนัง ช่วยให้การอุดตันของรูขุมขนลดลง ส่งผลให้ผิวพรรณเรียบเนียนได้
10. รักษาสิว
เนื้อมะม่วง สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ลดสิวบนใบหน้าได้ เพียงฝานมะม่วงบางๆ วางบนใบหน้า ทิ้งไว้ 30 นาที จากนั้นล้างออก วิตามินเอในมะม่วงจะช่วยลดการเกิดสิวได้เป็นปลิดทิ้ง
11. รักษาโรคโลหิตจางในหญิงที่ตั้งครรภ์
มะม่วงเปรี้ยว ถือเป็นของที่ถูกใจคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะช่วยอาการแพ้ท้องได้เป็นอย่างดี เพราะมะม่วงก็มีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ มักเกิดภาวะโลหิตจางได้ง่าย การรับประทานมะม่วง จึงช่วยให้ธาตุเหล็กอันเป็นสาเหตุของโรคโลหิตจางมีระดับสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ
12. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
มะม่วงมีสารเบต้าแคโรทีน เช่นเดียวกับผักผลไม้มีสีส้มและสีเหลืองทั่วไป เช่น แครอท โดยสารเบต้าแคโรทีนนั้น เป็นสารแคโรทีนอยด์ ที่มีคุณสมบัติในการสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ดังนั้น หากไม่อยากป่วยง่าย จึงควรจะรับประทานมะม่วงเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับสารพิษและแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ขอขอบคุณ- kapook.com
- เว็บไซต์ USDA
อาหารฟอกปอด ช่วยให้หายใจโล่งและสะดวก
1. พริก (Chili Peppers)
สารพัดพริกทั้งพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก อุดมด้วยสารแคปไซซีน ที่ให้ความเผ็ดร้อน ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น กระตุ้นการสร้างเยื่อเมือก และป้องกันการติดเชื้อ
2. แอปเปิล (Apples)
สารฟลาโวนอยด์ วิตามินอีและซี ในแอปเปิล ช่วยให้ปอดทำงานได้ดีที่สุด
3. ฟักทอง (Pumpkin)
อุดมด้วยสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี มีสรรพคุณเช่นเดียวกับแครอท
4. ขิง (Ginger)
เป็นเครื่องเทศที่มีสารต้านการอักเสบ และกระตุ้นการขับของเสียออกจากปอด
5. แครอท (Carrots)
อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินซี และไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลดีต่อสุขภาพปอด และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับปอดด้วย
6. ทับทิม (Pomegranates)
ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของก้อนเนื้องอกที่ปอด เพราะประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก รวมถึงกรดเอลลาจิก ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
7. ถั่วและเมล็ดพืช (Beans, Seeds, and Nuts)
อุดมด้วยแมกนีเซียมในปริมาณสูง ช่วยให้ปอดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นแหล่งกรดไขมันที่จำเป็นต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
8. กระเทียมและหัวหอม (Garlic and Onions)
อาหารที่มีกลิ่นฉุนเหล่านี้ ดีต่อหัวใจและปอด ช่วยลดการอักเสบ ลดโคเลสเตอรอล และป้องกันการติดเชื้อ
9. ส้ม (Oranges)
มีวิตามินซี และ วิตามินบี 6 ในปริมาณสูง ช่วยให้ปอดนำพาออกซิเจนได้ดี
10. พริกหวานสีแดง (Red Bell Pepper)
พริกขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเหมือนระฆังนี้ ให้รสเผ็ดเล็กน้อย แต่เต็มไปด้วยวิตามินซี ลูทีน และซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด
11. ผักตระกูลกระหล่ำ (Cruciferous Vegetables)
ผักตระกูลนี้ เช่น กระหล่ำปลี กระหล่ำดอก บรอคโคลี ผักคะน้า ผักกาดขาว เป็นต้น มีฤทธิ์ช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งปอด และตัดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดลงได้ครึ่งหนึ่ง อีกทั้งยังอุดมด้วยคลอโรฟิลล์ ที่ช่วยฟอกเลือดให้สะอาด และสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่ รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดด้วย
12. ขมิ้น (Turmeric)
เครื่องเทศชนิดนี้มีสรรพคุณหลายอย่างคล้ายขิง ที่สำคัญยังประกอบด้วยเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นการทำลายเซลล์มะเร็ง
ขอขอบคุณ- ปุยฝ้าย นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 174 มิถุนายน 2558
ตังโอ๋
ตังโอ๋
มีงานวิจัยพบว่า ตังโอ๋เป็นหนึ่งในพืชที่สามารถใช้ป้องกันและต้านมะเร็งได้
หมอจีน ถือว่า ตังโอ๋ ช่วยเสริมการทำงานของม้าม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร กำจัดความชื้น ปรับการทำงานของปอด จึงใช้ในการรักษาเสมหะที่เกิดจากความชื้น แก้อาการไอ มีเสมหะมาก เสมหะสีขาว แก้สะอึก เจ็บหน้าอก รวมทั้งแก้อาการปวดและเวียนศีรษะ
คนจีนถือว่า ตังโอ๋ สามารถใช้ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
นักวิทยาศาสตร์พบว่า ตังโอ๋ อุดมด้วยวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไลซีน โพแทสเซียมสูง มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าผักปวยเล้ง (Spinach)
หากทานสดๆ จะได้สารต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าทานสุก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่สามารถใช้ตังโอ๋ ป้องกันและต้านมะเร็งได้
ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวีติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อนี้ คือ ก้อนเนื้อเล็กๆ นุ่มๆ ที่โผล่มาที่ผิวหนัง ลักษณะเหมือนลูกโป่งเล็กๆ แฟบๆ อาจมีสีเข้มกว่าผิวเล็กน้อย ทางการแพทย์เรียกว่า Acrochordons ไม่มีอันตราย แต่ทำให้รู้สึกรำคาญเวลาลูบผิว
ติ่งนี้เกิดขึ้นได้ยังไง
ติ่งเนื้อเกิดขึ้นทั้งหญิงและชาย พบมากตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือบางคนเกิดก่อนหน้านั้น พบมากในคนอ้วน เชื่อกันว่าเกิดจากการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับเสื้อผ้า บางทฤษฏีบอกว่า เกิดจากฮอร์โมน พบมากในสตรีระหว่างตั้งครรภ์ ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากร 46% มีติ่งเนื้อเกิดขึ้นในร่างกายในประชาชนทุกระดับ
ติ่งเนื้อเกิดขึ้นที่ไหน
ติ่งเนื้อ พบได้ทุกที่ แต่ที่พบบ่อย คือ บริเวณส่วนล่างลำคอ ใต้วงแขน เปลือกตา ด้านล่างทรวงอก และรอยพบของผิวบริเวณก้น มีขนาดตั้งแต่ 2-5 มม. หลายคนพยายามตัดทิ้ง แต่ยิ่งตัดออกก็ยิ่งโตขึ้นอีกด้วย
วิธีทั่วไปในการกำจัดติ่งเนื้อ
หลายคนซื้อยามาป้ายให้หลุดออก ซึ่งยังไม่มีการยืนยันผล 100% แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่คือ การระคายเคืองและการอักเสบ มีเพียงบางรายเท่านั้นที่ได้ผล บางครั้งใช้วิธีการบิดเกลียวหรือเอาไหมขัดฟันผูกไว้เพื่อให้ขาดเลือดและหลุดออกมาเอง ซึ่งเป็นไปได้ยากมากหรือออกมาไม่หมดแล้วจัดการยากกว่าเดิม หรือจะวิธี จี้ด้วยไฟฟ้า จี้ด้วยความเย็น จี้ด้วยเคมีและตัดออกด้วยมีด ก็ดูยุ่งยากไปหมด
วิธีกำจัดติ่งเนื้อ ด้วยวิธีธรรมชาติ
1. น้ำมัน Tea Tree Oil
ปั้นก้อนสำลีเล็กๆ ชุบน้ำมัน Tea Tree Oil แปะทิ้งไว้ ณ บริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 2 สัปดาห์ ติ่งเนื้อจะหายไป
2. น้ำมันละหุ่ง
นำน้ำมันและหุงผสมกับ Baking Soda อัตราส่วน 2:1 แต้มบริเวณที่เป็นทุกวัน ประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะหลุดออกเอง หากกลิ่นเหม็น ก็เติมน้ำมันผิวส้ม จะทำให้หอมขึ้น
3. แอปเปิ้ลไซเดอร์
ทาลงที่ก้อนติ่งเนื้อโดยตรง วันละ 2 รอบ แล้วเอาสำลีปิดทับไว้ ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ วิธีนี้อาจรู้สึกแสบๆ กัดๆ เล็กน้อย
4. เปลือกกล้วยหอม
ตัดเปลือกกล้วยหอมเป็นชิ้นเล็กๆ แปะไว้ด้วยพลาสเตอร์ จนกว่าจะหลุดออก
5. กระเทียม
บดกระเทียมสด แปะที่ติ่งเนื้อ และใช้พลาสเตอร์ปิดทับ ทำก่อนนอน แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นตอนเช้า ทำติดกันทุกคืน ประมาณ 3 คืน ติ่งเนื้อจะหลุดออก คำเตือน วิธีนี้ไม่ควรทำเกิน 3 คืนติดกัน เพราะจะทำให้ผิวไหมได้
6. ขิง
ลอกเปลือกขิงออก แล้วถูตรงติ่งเนื้อทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ จะหลุดออกโดยไม่รู้ตัว
7. น้ำสับปะรด
น้ำสับปะรดชุบสำลี ทาที่ติ่งเนื้อวันละ 2 รอบ ประมาณ 1 สัปดาห์ ติ่งเนื้อจะหายไป
หากเกิดอาการระคายเคือง ให้หยุดทำทันที
ที่มา hermisthealth และ girlsallaroundผลไม้ต้านโรค
การเลือกกินผลไม้ทุกชนิด นอกจากต้องกินผลไม้ที่สดสะอาด เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าสูงสุดแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยใดๆ มากล้ำกรายแล้ว
เมืองไทยมีผลไม้พื้นบ้าน ราคาย่อมเยาอยู่มากมาย ที่ให้ประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายในปริมาณสูง อีกทั้งยังได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ว่าสารเคมีในผลไม้ มีสรรพคุณเป็นยากระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ รวมถึงเสริมสร้างภูมิต้านทานได้อีกด้วย
ฝรั่ง ผลไม้พื้นบ้านราคาถูก และออกผลตลอดปี ทุกสายพันธุ์ล้วนเป็นสุดยอดผลไม้ที่มีวิตามินซี ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงมาก ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น จึงสามารถป้องกันการเป็นไข้หวัดได้ หรือช่วยสร้างรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันที่เราเคยท่องจำกันในสมัยเด็กๆ ได้อีกด้วย
มะเฟือง นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้วยังให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มเปี่ยม มะเฟืองอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูกช่วยขับเสมหะได้
ทับทิม ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว ออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง นอกจากนี้ หากดื่มน้ำทับทิมตอนเช้าวันละ 1 แก้วจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
มะละกอแขกดำ ผลไม้ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากมาย เนื้อมะละกออุดมไปด้วยวิตามินซี มีเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน รวมถึงมีแมกนีเซียม ทองแดง โพแทสเซียมและใยอาหาร เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงให้ผิวพรรณชุ่มชื้น มีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ขจัดไขมันในผนังลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สะอาดดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น
ส้มโอ ในส้มโอมีสารเพคติน (Pectin) สูง มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และมีสารโมโนเทอร์ปืน ที่ช่วยในการจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น หากรับประทานส้มโอหลังมื้ออาหาร จะช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มะขาม เนื้อมะขามมีสารแอนทราควินิน (Antraquinone) ซึ่งช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ อีกทั้งยังมีกรดอินทรีย์ (Organic Acid) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาร์ริก (Tartaric Acid) และกรดซิตริค (Citric Acid) มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มกากใยอาหาร และช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
มะยม เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง มีฤทธิ์ช่วยสมานแผลและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ
http://widemagazine.com/คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย และสมุนไพร
ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอเหล่านี้ จากสังคมออนไลน์
- นวดฝ่าเท้าดูแลอวัยวะ
- การกินใบกระท่อมที่ถูกต้อง