นาฬิกาชีวิต เพื่อชีวิตและสุขภาพ

นาฬิกา สิ่งบอกเวลาในแต่ละวัน คนโบราณ ใช้การสังเกตจากพระอาทิตย์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นช่วงเวลาใดในของวัน บางคนไม่ได้มองนาฬิกาเลยทั้งวัน บางคนขาดนาฬิกาไม่ได้ ในหนึ่งวันเราต่างมีเวลาที่จะทำในสิ่งต่างๆ เท่ากัน ตามชีวิตของแต่ละคน ในแต่ละวันเราต่างต้องการอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง ฟื้นฟู และเสริมสร้างอวัยวะในร่างกายของเราทุกคน การรับสิ่งที่ให้โทษแก่อวัยวะ อาจเป็นที่มาของความเจ็บป่วยไป ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเราปฏิบัติตามนาฬิกาชีวิต (Biological Clock)

นาฬิกาชีวิต คำนี้ได้รู้จักถูกเผยแพร่มานานหลายปี มีหนังสือนาฬิกาชีวิตในร้านหนังสือ เพิ่มข้อมูลเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น มะรุม น้ำต้มมะม่วงกวน เป็นต้น การปฏิบัติตามเวลาในหนังสือ มีความรู้สึกว่าหากใครปฏิบัติต่อร่างกายในเวลาที่กำหนด จะทำได้สุขภาพดีขึ้น เห็นว่าข้อมูลที่มีมากมายเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตที่เผยแพร่นั้นมีหลายทางให้ติดตาม บางคนอาจจะลืมไป และเลิกปฏิบัติ จึงนำมาทบทวนอีกครั้งด้วย

เวลางานของอวัยวะในร่างกาย

กิจกรรมอาการของผู้คน ที่ควรและไม่ควร ในแต่ละช่วงเวลาของวัน

01.00-03.00 น. ควรนอนหลับพักผ่อนให้สนิท

เพราะช่วงนี้เป็นการทำงานของ "ตับ" ถ้าหลับสนิท ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในร่างกาย แต่ถ้าใครไม่ยอมนอน แถมยังใช้ร่างกายหนัก ด้วยการกิน ตับจะทำงานหนักด้วยการหลั่งน้ำย่อยออกมา โดยไม่ได้ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้สารพิษตกค้างในตับมาก

03.00-05.00 น. เวลาของคนผิวสวยหน้าใส

คนที่อยากผิวสวย หน้าใส ควรตื่นนอนเวลานี้ เพื่อมาสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าเพราะช่วงนี้เป็นเวลาทำงานของ "ปอด"

05.00-07.00 น. ได้เวลา "อึ"

ควรขับถ่ายอุจจาระให้เป็นนิสัยในช่วงนี้ เพราะเป็นเวลาการทำงานของ “ลำไส้ใหญ่” หากไม่สามารถถ่ายได้ ลองดื่มน้ำอุ่นสัก 1-2 แก้ว

07.00-09.00 น. ตื่นรับอากาศบริสุทธิ์

นอกจากจะตื่นเช้าสูดอากาศและขับถ่ายแล้ว ควรกินอาหารมื้อเช้าในช่วงเวลานี้ เพื่อให้ร่างกายมีพลังงาน และช่วยให้ “กระเพาะอาหาร” แข็งแรง

09.00-11.00 น. อย่าขี้เซา

ช่วงเวลานี้ "ม้าม" จะทำงานได้ดี ม้ามเป็นตัวควบคุมไขมัน สร้างน้ำเหลือง และควบคุมเม็ดเลือด การนอนช่วงนี้ จะทำให้ม้ามอ่อนแอ

11.00-13.00 น. กิจกรรมห้ามเครียด

ช่วงนี้ควรทำกิจกรรม ที่ไม่เครียด ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย เพราะเป็นช่วงที่ “หัวใจ” ต้องทำงานหนัก ผู้ใดที่ทำงานเครียด.ฝ ควรผ่อนคลาย โดยไปทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก ไม่เช่นนั้นอาจหัวใจวายได้

13.00-15.00 น. ไม่กินจุกจิก

ไม่ควรกินอาหารทุกชนิด เพื่อให้ "ลำไส้เล็ก" ทำงานได้อย่างเต็มที่ ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมอาหารเหลวต่างๆ เช่น วิตามินบี ซี โปรตีน ซึ่งทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมองและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

15.00-17.00 น. ออกกำลังกลางแจ้ง

ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อให้เหงื่อออก เพราะเป็นเวลาการทำงานของ"กระเพาะปัสสาวะ" ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ธัยรอยด์ และระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมด

17.00-19.00 น. คุณง่วงหรือเปล่า

คนที่ง่วงในเวลานี้ อาจเป็นไปได้ว่า "ไต" ทำงานไม่ดี เพราะช่วงนี้ เป็นเวลาของไตคนทำงานควรทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด คนที่เป็นโรคไตมักเป็นหวัดง่าย ปวดหลัง มีเสลดในคอสมองเสื่อม และอื่นๆ ควรอาบน้ำเย็นในตอนเช้า และอาบน้ำอุ่นในตอนเย็น

19.00-21.00 น. ทำวัตร์ สวดมนต์

ควรใช้ช่วงเวลานี้ ในการสวดมนต์หรือนั่งสมาธิ เพราะเป็นเวลาของ "เยื่อหุ้มหัวใจ"คนที่ดูแลตัวเองไม่ดีในช่วงนี้ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโต หัวใจรั่ว หรือเส้นเลือดหัวใจตีบได้ ควรหลีกเลี่ยงเรื่องตื่นเต้น ตกใจ หรือดีใจสุดขีด

21.00-23.00 น. อบอุ่นในบ้าน

ไม่ควรอาบน้ำในช่วงเวลานี้ เพราะเป็ช่วงที่ร่างกายต้องการความอบอุ่น จึงไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือตากลมนอกบ้าน เพราะจะป่วยได้ง่าย

23.00-01.00 น. ดื่มน้ำสักนิด

ช่วงนี้เป็นเวลาของ "ถุงน้ำดี" ซึ่งเป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ ถ้าร่างกายขาดน้ำ อวัยวะในร่างกายจะดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น ส่งผลให้เหงือกบวม ปวดฟันนอนไม่หลับ หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก