ครูผู้ให้การศึกษา

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา

ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา

ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ

ครูผู้ให้การศึกษา

ความเป็นมาวันครู

จุดเริ่มต้นของการมีวันครู เกิดจากการปรารภของครูจำนวนมาก ที่แสดงถึงความสำคัญของครูในฐานะผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน สมควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้พักผ่อน ตลอดจนถึงการกระทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของครู และการศึกษาของชาติตามสมควร

สอดคล้องกับ ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในสมัยนั้น ได้ปราศัยในที่ประชุมครูทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู

ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้ วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู วันครู จึงเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500

ตามการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ. 2488 ระบุให้มี "คุรุสภา" (นิติบุคคล) ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับสถาบันวิชาชีพครู ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ที่มาคำว่า กูรู (GURU)

คุรุ (สันสกฤต: गुरु) หรือ guru (อังกฤษ) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์ ประกอบด้วย 2 คำ ได้แก่ ...

  • คุ แปลว่า แสงสว่าง ผู้ชี้ทางแสงสว่าง

  • รุ แปลว่า ความมืดมน ผู้ขจัดความเขลาที่มืในตน

ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาที่เห็นความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือครูอาจารย์เป็นผู้ชี้นำไปสู่จุดสูงสุด คือการเรียนรู้

อนึ่ง คำว่า คุรุ มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษว่า guru ซึ่งหากทับศัพท์ในภาษาไทยที่มีอยู่แล้วว่า คุรุ เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ ครุ เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า คุรุ ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้น ๆ

คุรุ ในภาษาสันสกฤต ยังหมายถึง พฤหัสบดี (คุรุวาร (วันครู) ในภาษาอินเดีย) ซึ่งเป็นเทพเจ้า ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมัน ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี เป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

ในประเทศตะวันตก คุรุ ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึง บุคคลผู้เผยแพร่ศาสนา หรือความเชื่อตามปรัชญาต่าง ๆ และยังใช้คำนี้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เพราะเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

ปรุงแต่งจาก : http://variety.teenee.com/foodforbrain/28118.html

อาจารย์ใหญ่ผู้ให้การศึกษา

ประชาชนทั่วไป ผู้ให้การศึกษาแก่นิสิตแพทย์

อาชีพครู กับอาชีพหมอ (แพทย์) เหมือนกันอย่างหนึ่ง

คือการใช้ความรู้เพื่อรักษาผู้อื่น

ครู รักษาผู้อื่นด้วยการให้สติปัญญา หมอ รักษาผู้อื่นด้วยการแพทย์ เมื่อเห็นผู้รับมีความสุข เราก็สุขด้วย


" แม้ไม่มีลมหายใจ ก็อยากเป็นครูต่อไป "

พระยาอุปกิตศิลปสารอาจารย์ใหญ่คนแรกของประเทศไทย

คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับพระคุณครู

ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอเหล่านี้ จากสังคมออนไลน์

ของขวัญคุณครูผู้เป็นที่รัก