กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง
National Qualification Framework (Thailand NQF)
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
Thailand Qualification Framework : TQF
มคอ. หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF) เป็นกรอบมาตรฐาน ที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของประเทศ ประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่ง ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษา ว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักการสำคัญ
เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการวัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ เพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต
มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกัน และเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน
เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจ และความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่นๆ ทั้งใน และต่างประเทศ เกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี
มุ่งให้คุณวุฒิ หรือปริญญาของสถาบันใดๆ ในประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตร ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิต ซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และภาคภูมิใจเป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
นอกจากจะให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของ TQF ตามที่เสนอข้างต้นแล้ว มีวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญอีก ดังนี้
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิต ในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ
เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชา มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้นๆ
เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข้ง และความพร้อมในการจัดการศึกษา
มคอ. 7 แบบ
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร (Programme Specification)
มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)
มคอ.4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)
มคอ.5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)
มคอ.6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report)
มคอ.7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)