Bloom's taxonomy
แนวคิดการเรียนรู้ เพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ในสังคมดิจิทัล
พฤติกรรมด้านภูมิปัญญา และตัวอย่างทักษะในสังคมดิจิทัล
Bloom นักการศึกษาชาวอเมริกัน ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน ได้แก่ การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) 6 ระดับ ได้แก่
ระดับความรู้ความจำ (Remembering) คือการที่ผู้เรียนสามารถตอบได้ว่าสิ่งที่เรียนมาจากไหน เพราะเกิดจากการจดจำ
ระดับความเข้าใจ (Understanding) คือการที่ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งที่ได้เรียนมา สามารถอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองได้
ระดับการประยุกต์ใช้ (Applying) คือการที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
ระดับการวิเคราะห์ (Analyzing) คือการที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาคิดอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเเยกเเยะหาความสัมพันธ์เเละเหตุผลได้
ระดับการประเมินผล (Evaluating) คือการที่ผู้เรียนสามารถตั้งเกณฑ์ตัดสิน เปรียบเทียบคุณภาพหรือประสิทธิภาพของการเรียนรู้ได้
ระดับการสร้างสรรค์ (Creating) คือการที่ผู้เรียนสามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือสามารถปรับปรุงแก้ไขออกแบบ ตั้งสมมุติฐานใหม่ๆ ได้
สังคมเปลี่ยน วิธีการเรียนรู้ต้องปรับเปลี่ยน
การจัดระดับทักษะด้านการคิด ตามแนวคิดของ Bloom
การจัดระดับทักษะด้านการคิด ตามแนวคิดของ Bloom
ความรู้ของ Bloom ถูกนำมาปรับปรุง เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนของสังคมยุคดิจิทัล เนื่องจากการเรียนรู้ มิได้จำกัดอยู่แค่ผู้สอนและผู้เรียน เท่านั้น เเต่ยังมีสื่อ และเครื่องมือดิจิทัล เข้ามามาเป็นปัจจัยในการเรียนรู้ด้วยโดยการจัดระดับทักษะด้านความคิดเพิ่มเติม ตั้งแต่ ทักษะการคิดระดับพื้นฐานขั้นต่ำ (Lower Order Thinking Skills) ไปถึงทักษะการคิดระดับสูง (Higher Order Thinking Skills) ซึ่งแสดงออกในรูปความสามารถ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมตามภูมิปัญญา ดังนี้
ระดับความรู้ความจำ (Remembering) ได้แก่ ความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เช่น, document, presentation, Microsoft word ในการช่วยบันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ
ระดับความเข้าใจ (Understanding) ได้แก่ ความสามารถในการใช้ เครื่องมือค้นหาบนเว็บหรือการสร้าง Blog การเลือก Subscribe บน YouTube เพื่อรับข้อมูลพัฒนาความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้น หรือสรุปความเพื่อเขียนลงทวิตเตอร์
ระดับการประยุกต์ใช้ (Applying) ได้แก่ ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันหรือโปรเเกรมที่ช่วยในการตกเเต่ง ปรับเเต่ง ตัดต่อเนื้อเรื่องผลงาน เช่น Adobe illustrator เป็นต้น
ระดับการวิเคราะห์ (Analyzing) ได้แก่ ความสามารถในการใช้โปรเเกรม Microsoft Excel Google Doc หรือ Spreadsheet ในการเก็บเเละวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานออกมาเป็นกราฟ รูปภาพ เป็นต้น
ระดับการประเมินผล (Evaluating) ได้แก่ ความสามารถในการการควบคุมข้อมูลบนเว็บบอร์ด การใช้ Google Doc, discussion board, chat room ในการกลั่นกรองข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ระดับการสร้างสรรค์ (Creating) ได้แก่ ความสามารถในการการสร้างหรือประดิษฐ์เครื่องมือ/โปรแกรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ เกม เป็นต้น
อ้างอิง
สอนเด็กไทยให้เรียนรู้ชีวิต https://know-are.com/
https://www.facebook.com/1423599147920687/posts/2462543860692872?sfns=mo