การศึกษา และพัฒนาเยาวชน

Education

  • เขียนแบบไหน จึงเข้าข่าย "คัดลอกผลงาน" ขโมยความคิดผู้อื่น (Plagiarism)
  • การศึกษาคืออะไร
  • การเรียนรู้คืออะไร
  • ผลสัมฤทธิ์ และ ผลลัพธ์

ข่าวในวงการศึกษา และการอุดมศึกษา

ธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank)

โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต


ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) คืออะไร

ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ คือการมีระบบทะเบียนสะสมหน่วยกิต และกลไกการเทียบโอนความรู้ หรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจากประสบการณ์บุคคล สำหรับเก็บสะสมไว้ในธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับธนาคารหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษา ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียน และสะสมหน่วยกิตได้ตลอดชีวิต โดยไม่มีเงื่อนไขของระยะเวลาในการสะสมและระยะเวลาในการศึกษา และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาได้


แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้อย่างไร?

เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคล ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ ศักยภาพ และความพร้อม เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้กับคนทุกช่วงวัย โดยสามารถฝึกฝนสมรรถนะได้จากการทำงาน การฝึกอบรม ฝึกอาชีพ การสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ


ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตระดับอุดมศึกษาแบบไหนได้บ้าง?

ธนาคารหน่วยกิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ได้มีการกำหนดนโยบายร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนากำลังคนภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบธนาคารหน่วยกิต ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ได้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ เพื่อส่งเสริมระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีการเทียบโอน 5 รูปแบบ ได้แก่


1. Credit from Standardize (CS) 

คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรอง ที่ได้จากการฝึกอบรม การเรียน และอื่น ๆ ที่องค์กรมาตรฐานวิชาชีพหรือวิชาการเป็นผู้มอบให้ โดยหลักสูตรหรือหน่วยงานนั้นเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการรับรอง หรือเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้มาตรฐาน


2. Credit from Non-degree (CN) 

คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรอง ที่ได้จากการฝึกอบรม การเรียน และอื่น ๆ ที่ไม่มีการให้ปริญญา อาจมีใบรับรองก็ได้ แต่สถานศึกษา/ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถที่วัดองค์ความรู้ หรือสมรรถนะ หรือทดสอบใด ๆ เพื่อยืนยันว่า ผู้เรียนสามารถเทียบโอน Non-degree นั้นกับรายวิชาได้ 


3. Credit from Training (CT) 

คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรองที่ได้จากการฝึกอบรมหรือฝึกปฏิบัติ โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถที่จะวัดทดสอบใด ๆ เพื่อยืนยันองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งอาจจะเทียบโอนได้บางส่วน


4. Credit from Port Folio (CP) 

คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากประสบการณ์ ซึ่งหลักสูตรต้องสร้างเกณฑ์ประเมิน เพื่อวัดสมรรถนะ หรือแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานตาม Port Folio ว่าสามารถเทียบโอนกับรายวิชาได้อย่างไร


5. Credit from Examination (CE) 

คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากการสอบ โดยหลักสูตรจะสร้างแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ หรือสมรรถนะ ก่อนการพิจารณาเทียบโอนกับรายวิชา


นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา โดยธนาคารหน่วยกิตเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพและคุณวุฒิการศึกษา ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้มีความร่วมมือในการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต เพื่อเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพและคุณวุฒิการศึกษา 


รวมถึงธนาคารหน่วยกิตโดยสมาชิกของที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทคบร.) ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันระหว่างสถาบันสมาชิก โดยความเห็นชอบของอธิการบดี 25 สถาบัน ได้แก่


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 


ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ระบบธนาคารหน่วยกิตที่มีในปัจจุบัน และขยายผลไปสู่ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ จึงควรขยายขอบเขตการดำเนินงาน ให้ครอบคลุมหลากหลายสาขาอาชีพมากขึ้น รวมถึงเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา ชุมชนท้องถิ่น สถาบันฝึกอบรม สถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ


ขอบคุณเฟซบุ๊ก: สอวช

แหล่งที่มา : รายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้ว 

(ฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ)

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ “ระบบอุดมศึกษาไทย”

ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก สำคัญอย่างไร


จากสถานการณ์โลกในมิติต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เห็นได้ชัดนั่นก็คือวิกฤตโควิด-19 อีกทั้งยังมีปัญหาช่องว่างระหว่างยุค สังคมสูงวัย ความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน และการเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ระบบอุดมศึกษาไทยให้เท่าทันต่อสถานการณ์ข้างต้น


ระบบอุดมศึกษาไทย พร้อมแค่ไหนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก?

โดยภาพรวมของประเทศยังมีความท้าทายในการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์โลก เนื่องจากกำลังคนยังไม่สอดรับกับความต้องการของประเทศ และการพัฒนาระบบอุดมศึกษานั้นยังคงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการในการจัดการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 


นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน และยุทธศาสตร์ชาติ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 อีกด้วย


จากเหตุผลดังกล่าว ระบบอุดมศึกษาของไทย จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm shift ใน 4 ด้าน ผ่านเลนส์ (L-E-N-S) ซึ่งประกอบด้วย


L - Lifelong Learning Support : Broader Target 

การสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย


E - Education Goal : Quality Change 

เป้าหมายของการจัดการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพ

การปรับเปลี่ยนจากการศึกษาเดิมที่เน้นการสอนของอาจารย์ให้เป็นการสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อการเรียนรู้ และผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง


N - National Agenda : Competitive Change 

วาระสำคัญของชาติเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน


S - Sustainable System : System Change 

ระบบอุดมศึกษาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ


การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ดังกล่าวสอดคล้องกับ “ปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน” โดยกระทรวง อว. เพื่อให้การอุดมศึกษาไทยมุ่งสร้างบัณฑิต และพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัย ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน (Disruption) เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน


การดำเนินงานในปัจจุบัน โดยกระทรวง อว. สอวช. ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

ได้มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนนโยบาย และแผนงานที่สำคัญ อาทิ


ขอบคุณเฟซบุ๊ก: สอวช

แหล่งที่มา : รายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้ว 

(ฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ)

Confort zone (ถิ่นอับเฉา)

คนส่วนใหญ่มักดำรงตนตามสบาย มีความสุขกับถิ่นที่สุขกายสบายใจในกรอบที่คุ้นชินของตน (comfort zone) ไม่พร้อมที่จะออกเผชิญโลก เกรงกลัวและขาดความกล้าหาญต่อความท้าทายใดใด (fear zone)

พวกเขาลืมไปว่า การหลุดพ้นจากความกลัว เป็นเส้นทางการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ (Learning zone) สู่การเจริญเติบโตแห่งจิตวิญญาณและการงานทั้งปวง (growth zone)

การจมอยู่กับกรอบที่เคยชิน ด้วยความหวาดกลัวต่อความเป็นไปของสังคม ย่อมไม่ต่างกับการดำรงอยู่ในถิ่นอับเฉา เสมือนกบที่ไม่อาจสร้างศักยภาพที่ดีแก่ตนนอกกะลาได้

นับเป็นความเลวร้ายอย่างยิ่ง ทั้งต่อตนเอง เยาวชน และสังคม และจะเลวร้ายเป็นทวีคูณ หากพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นกับ คุณครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษา.

15 พฤษภาคม 2562

ข่าวอื่น ๆ ในวงการการศึกษา

คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับวงการการศึกษา

ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอเหล่านี้ จากสังคมออนไลน์

  • สื่อสารให้เป็น ในสังคมต่างGen โดย ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
รร.บ้านหนองแก อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
  • คนโง่ไม่ใช่คนที่อ่านหนังสือไม่ออก ไม่ใช่คนที่เรียนไม่เก่ง แต่เป็นคนที่ไม่รู้จักพัฒนาตนเอง
  • ไม่สำคัญว่าครูจะจบเอกอะไรมา แต่ครูต้องมีเอกจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู