วันนี้ที่จำได้
วันและเหตุการณ์สำคัญในอดีตของไทย และของโลก
วันเด็ก (Children's Day)
เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
วันเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร
นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กขึ้นในประเทศไทย โดยอ้าง 2 เหตุผล เพื่อ …
ส่งเสริมให้ประชาชน เห็นความสำคัญของเด็ก
กระตุ้นเตือนให้เด็ก เห็นความสำคัญของตนเอง
จนกระทั่งเกิดงานวันเด็กขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ทั่วโลกจัดงานวันเด็กเป็นครั้งแรก "จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม" เป็นคำขวัญวันเด็กครั้งแรกของเด็กไทย ที่นายกรัฐมนตรี ป. พิบูลย์สงคราม กำหนดไว้เมื่อปี พ.ศ. 2499
ทำไมต้องเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
เดิม ราชการกำหนดให้วันเด็ก ตรงกับวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม กระทั่งปี พ.ศ.2506 จึงได้เปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่า เป็นช่วงที่พ้นจากฤดูหนาวมาแล้ว และเป็นวันหยุดราชการทำให้เกิดความสะดวกด้วยประการทั้งปวง [edtguide.com]
และเป็นการดี เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองจะได้ใช้เวลาในวันหยุด มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากหากเป็นวันทำงานปกติของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งยังเป็นโอกาสให้ส่วนราชการ เปิดสถานที่สำคัญให้เด็กๆ ได้บ่มเพาะ เปิดโลกทัศน์ โดยไม่รบกวนเวลาราชการ ถือเป็นการส่งเสริมครอบครัวในการพัฒนาเด็ก เพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ทำหน้าที่แล้วในเวลาราชการ และที่เป็นวันวันเสาร์ที่สอง ก็เพราะให้ถัดจากเสาร์แรกที่ครอบครัวฉลองปีใหม่กัน [ธงชัย สิทธิกรณ์]
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็จัดงานวันเด็กในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในปี พ.ศ. 2507 เท่านั้น ที่ว่างเว้นการจัดงานไป 1 ปี
สวัสดีประเทศไทย
22 มกราคม
สวัสดี เป็นคำทักทายของคนไทย ใช้กล่าวเมื่อมาพบกันครั้งแรก หรือบอกลาเมื่อจากกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สวัสดี หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย
สวัสดี เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ริเริ่มใช้คือ อาจารย์ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยท่านพิจารณามาจาก "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต หลังจากนั้น วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในสมัยนั้น) เห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ
ครบรอบ 100 ปี แห่งนามถนนพระราชทาน
16 กุมภาพันธ์
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามถนนบางสายในพระนคร เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ซึ่งวันนี้เป็นวันครบรอบ 100 ปีของนามถนนเหล่านี้ ได้แก่
ถนนราชวิถี เดิมคือถนนซางฮี้ (ปัจจุบันคงเหลือแต่ชื่อสะพานซังฮี้ที่ยังเรียกติดปากกันอยู่)
ถนนศรีอยุธยา เดิมคือถนนดวงตวัน
ถนนราชดำเนินนอก เดิมคือถนนเบญมาศนอก
ถนนพิษณุโลก เดิมคือถนนคอเสื้อ
ถนนพระรามที่ 5 เดิมคือ ถนนลก
ถนนประแจจีน เดิมคือถนนเพชรบุรี
ถนนนครราชสีมา เดิมคือถนนดวงดาว
ถนนศุโขทัย (หรือสะกดในปัจจุบันว่า สุโขทัย) เดิมคือถนนดวงเดือน
ถนนนครไชยศรี เดิมคือถนนราชวัตร์ (ปัจจุบันคงเหลือเรียกย่านราชวัตรและแยกราชวัตร)
ถนนสวรรคโลก เดิมคือ ถนนสิ้ว (ซิ่ว)
ถนนนครปฐม เดิมคือ ถนนฮก
ถนนสุพรรณ เดิมคือ ถนนส้มมือหนู
ถนนพิชัย เดิมคือถนนพุดตานเหนือ
ถนนพระรามที่ 6 เดิมคือ ถนนประทัดทอง
ถนนอู่ทอง (นอก) เดิมคือถนนใบพร ส่วนถนนอู่ทอง (ใน) เดิมคือถนนปลายใบพร
ถนนพระรามที่ 1 เดิมคือถนนประทุมวัน
ถนนพระรามที่ 4 เดิมคือถนนหัวลำโพง (นอก)
ถนนนครสวรรค์ เดิมคือถนนตลาด
นามถนนเดิมนั้น เป็นถนนที่ตัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงเวลาที่ทรงพัฒนาพื้นที่บริเวณวังสวนดุสิต ซึ่งนามเหล่านี้ล้วนมาจากลวดลายเครื่องถ้วย ซึ่งเป็นพระราชนิยมในรัชสมัยของพระองค์ เป็นลวดลายมงคลแทนความหมายของพรสามประการ คือ โชคลาภความมั่งคั่ง บริบูรณด้วยโภคสมบัติ (ฮก) บุญวาสนา อำนาจเกียรติยศ (ลก) และความมีอายุยืน (ซิ่ว) แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความนิยมในเรื่องเครื่องกระเบื้องลดน้อยลง จึงมีการเปลี่ยนนามถนนใหม่ และครบหนึ่งร้อยปีในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562
ข้อมูลจากเพจ หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันน้ำโลก
22 มีนาคม
แม้ว่าพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกจะเป็นน้ำ แต่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็มที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทร คิดเป็นร้อยละ 97.5 ส่วนอีกร้อยละ 2.5 เป็นน้ำจืด และส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ รวมไปถึงน้ำใต้ดินที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ด้วย
แหล่งน้ำจืดที่นำมาดื่มกินและนำมาใช้ประโยชน์ จึงได้มาจากทะเลสาป อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ และสำธาร ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดที่มีอยู่ทั้งหมด และน้ำจืดในปริมาณดังกล่าว ยังมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพปนเปื้อนและมีสารพิษ ต้องทำการบำบัดก่อนนำมาใช้อีกด้วย ในปัจจุบัน มีประชาชนเกือบ 1,400 ล้านคน ทั่วโลก ที่ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค
จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 2535 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21
องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน 5 ประการ ได้แก่
การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่แตกต่างกันได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน
การอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ
การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ
การจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
การจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม
เริ่มต้นวันฉัตรมงคล
5 พฤษภาคม 2493
ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 วันที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นครองราช และถือเป็นวันหยุดราชการ กระทั่งพระองค์ท่านเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2559
ดังนั้น ปี พ.ศ. 2560 จึงเป็นปีแรก ที่วันที่ 5 พฤษภาคม จะไม่ได้เป็นวันหยุดราชการ เฉกเช่นเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา
แฝดสยามอิน-จัน
11 พฤษภาคม 2354
อิน-จัน (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 - 17 มกราคม พ.ศ. 2417) เป็นชื่อของฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเป็นที่มาของคำว่า "แฝดสยาม" เนื่องจากเกิดที่ประเทศสยาม (ประเทศไทย) ฝาแฝดที่มีหน้าอกติดกัน และใช้ตับร่วมกัน เป็นฝาแฝดคู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนธรรมดาได้ตลอดชีวิต
อิน-จัน ได้สัญชาติอเมริกัน เมื่อปี พ.ศ. 2382 และใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ (Bunker) มีลูกหลานสืบตระกูลมาจนถึงทุกวันนี้
ชื่อเสียงของอิน-จัน ทำให้เกิดคำเรียกแฝดที่ตัวติดกันว่า แฝดสยาม (Siamese twins) ตามชื่อเรียกประเทศไทยในเวลานั้น
ฝาแฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีตัวติดกันทางส่วนหน้าอก (บันทึกของชาวตะวันตกบอกว่า เนื้อที่เชื่อมกันระหว่างอกนี้สามารถยืดได้จนทั้งคู่สามารถหันหลังชนกันได้)
ขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันอนุรักษ์ควายไทย
14 พฤษภาคม
วันผึ้งโลก
20 พฤษภาคม
วันผึ้งโลก ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปี ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของผึ้งและเพื่อให้ประชาชนช่วยกันดูและผึ้งที่มีจำนวนลดลง
“วันผึ้งโลก” ซึ่งก่อตั้งโดยองค์การสหประชาชาติ ที่ต้องการให้เห็นถึงความสำคัญของผึ้งและเพื่อให้ประชาชนช่วยกันดูและผึ้งที่มีจำนวนลดลง โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผึ้งมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากภัยคุกคามจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้เมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ก็ทำให้ผึ้งตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ผึ้ง เป็นแมลงสังคมและจัดเป็นแมลงเศรษฐกิจที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานานได้ โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกัน และมีระบบสังคมมาเป็นเวลานานถึงกว่า 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนหนึ่งครอบครัว
วันค่ายบางระจันแตก
20 มิถุนายน 2309
หมู่บ้านบางระจัน เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในทางเหนือของกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของสยาม รัฐช่วงก่อนหน้าของประเทศไทยในสมัยใหม่ ปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์ไทยอันลือลั่นสำหรับการสู้รบต่อต้านการรุกรานของพม่าในสงครามพม่า-สยาม(พ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2310) เป็นอันจุดจบของอาณาจักรอยุธยา
ตามประวัติศาสตร์ไทย พม่าได้ยกกองทัพบุกมาทางภาคเหนือซึ่งนำโดยเนเมียวสีหบดี ได้ถูกสกัดทัพไว้ที่บางระจันเป็นเวลาห้าเดือน การเล่าเรื่องที่เป็นที่นิยมแพร่หลายนั้นไม่สามารถเป็นจริงได้ทั้งหมดเพราะการทัพภาคเหนือทั้งหมดต้องใช้เวลาเพียงห้าเดือน(ช่วงกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2308 ถึงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2309) และกองทัพพม่าทางภาคเหนือยังคงติดอยู่ที่พิษณุโลกในภาคเหนือกลางของสยาม ช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2308 แหล่งข่าวของพม่าได้กล่าวถึง "petty chiefs" (เทียบเท่ากับ "เมือง") ได้ขัดขวางการรุกของกองทัพพม่าทางภาคเหนือ แต่ก็เป็นช่วงแรกของการทัพตามแนวแม่น้ำวังในภาคเหนือของสยาม(ไม่ได้อยู่ใกล้กับอยุธยา) ในช่วงฤดูฝน (สิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2308) แม่ทัพชาวพม่าซึ่งในขณะนั้นที่อยู่ใกล้กับกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่เนเมียวสีหบดี แต่เป็นมังมหานรธาพร้อมกับกองทัพทางภาคใต้ซึ่งกำลังรอให้กองทัพทางภาคเหนือเข้ามาสมทบแล้วเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏว่าเหตุการณ์ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วถึง 3 เหตุการณ์ ได้แก่ petty chiefs ได้่ต้านทานกองทัพของเนเมียวสีหบดีในภาคเหนือ การทัพของเนเมียวสีหบดีได้กินเป็นเวลาห้าเดือน และมังมหานรธาซึ่งกำลังรอคอยอยู่ ในขณะที่อยู่ใกล้กับกรุงศรีอยุธยา จึงได้รวมตัวเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเรื่องเล่าขานตำนานของสยามนี้
การเล่าเรื่องของไทยในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทยที่ถูกปลูกฝังแน่น ภาพยนตร์ไทยเรื่อง บางระจัน ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งได้นำเหตุการณ์นี้มาแสดงเป็นละครภาพยนตร์
ภาพที่ดูโดดเด่นอีกภาพหนึ่งคือ นายทองเหม็น ชายขี้เมาพร้อมกับขี่ควายบ้านตัวใหญ่เข้าต่อสู้รบกับทหารพม่าอย่างดุเดือด ความทรงจำสาธารณะของการสู้รบนั้นเปรียบเสมือนกับการสู้รบในยุทธการที่อลาโมในจิตใจของชาวอเมริกัน
ขอบคุณ วิกิพีเดียวันสุนทรภู่
26 มิถุนายน
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2398 (อายุ 69 ปี)
เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เมื่อสิ้นรัชกาล ได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
คณะราษฎรประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
27 มิถุนายน 2475
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ขอบคุณ วิกิพีเดียวันยูเอฟโอโลก
2 กรกฎาคม
เนื่องจากในวันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2490 หรือ ค.ศ. 1947 มีบันทึกรายงานการพบเจอซากวัตถุโลหะลึกลับขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นยูเอฟโอ ที่ไร่แห่งหนึ่งในเมืองรอสเวลล์ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา วันดังกล่าวจึงถูกบันทึกไว้เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่นักบินนามว่าเคนเนธ อาร์โนล (Kenneth Arnold) พบวัตถุที่เชื่อว่าเป็น “ยูเอฟโอ” เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 24 มิถุนายนปี 1947 โดยเขาได้อธิบายว่ามันมีรูปร่างเหมือนกันจานหรือแผ่นเสียงขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่เราจินตนาการว่ามันคือยานบินจากนอกโลก
นอกจากนั้นในวันที่ 2 กรกฎาคมปีเดียวกันยังเป็นวันที่เกิดเหตุยูเอฟโอตกที่ฟาร์มที่เมืองรอสเวลล์ (Roswell) ในรัฐนิว เม็กซิโก (New Mexico) โดยนายวิลเลียม บราเซล ชาวไร่ของฟาร์มนอกเมืองรอสเวลล์ ได้อธิบายว่าเขาได้เห็นปรากฎการณ์ประหลาดบนท้องฟ้าในคืนที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง มีฟ้าผ่า ในแสงวูบวาบ เขาเห็นยานทรงกลมสีเทาน้ำเงิน ถูกฟ้าผ่าแตกเป็นเสี่ยง แล้วแฉลบร่อนลงท้ายไร่พร้อมกับเสียงดังสนั่น แต่หากว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯได้เข้ามาตรวจสอบซากโลหะและหลังจากนั้นได้ออกข่าวว่าเศษโลหะดังกล่าวเป็นเพียงเศษซากบอลลูนตรวจอากาศที่ตกลงมาเท่านั้น
แต่ผู้คนกลับไม่เชื่อในคำยืนยันของกองทัพสหรัฐฯ และกล่าวหาว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ปกปิดความจริง จนก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดขึ้นมากมาย การศึกษาจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและพลเรือน ได้ข้อสรุปแตกต่างกันมากมาย บ้างสรุปว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวมิใช่ภัยต่อความมั่นคงของชาติหรือมีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การดำเนินการทางวิทยาศาสตร์
ทว่าบ้างได้ข้อสรุปตรงข้ามทีเดียว บุคลากรทางทหารจำนวนมาก และคนอื่น ๆ ให้ถ้อยแถลงว่าเคยเห็นยูเอฟโอด้วยตนเองหรือมีสารสนเทศลับเกี่ยวกับยูเอฟโอ ในทางวัฒนธรรม ปรากฏการณ์ดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือทฤษฎีคบคิดที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ฉะนั้น จึงกลายมาเป็นแก่นเรื่องที่ได้รับความนิยมในคดีที่เกี่ยวกับความบันเทิง รงมถึงยังทำให้ฮอลลีวูดนำเรื่องราวการเผชิญหน้ากับสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังหลายเรื่องอีกด้วย
ทั้งนี้ในวันที่ 2 กรกฎาคม ผู้คนที่เชื่อมั่นว่าจานบินอวกาศนั้นมีจริงจากทั่วโลกจะฉลองวันนี้ด้วยการมารวมตัวกันในที่ๆ เป็นจุดปักมุดของยูเอฟโออย่างเช่นในเมืองรอสเวลล์รัฐนิว เม็กซิโก และมีบางส่วนที่เฉลิมฉลองด้วยการจัดปาร์ตี้ในธีมยูเอฟโอ
อย่างไรก็ตามแท้จริงแล้วองค์กรวันยูเอฟโอโลก หรือ World UFO Day Organisation (WUFODO) ได้ตั้งให้วันที่ 2 กรกฎาคมเป็นวันยูเอฟโอโลก เพราะว่าพวกเขาต้องการให้ทุกคนได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลกและมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้รัฐบาลเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกเหล่านี้
ขอบคุณ Nation TVวันเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 2
21 กรกฎาคม 2367
191 ปี วันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เสด็จสวรรคต เนื่องจากทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ ไม่รู้สึกพระองค์ พระราชวงศานุวงศ์เห็นว่า เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ยังทรงผนวชและมีพระชนม์เพียง 20 พรรษา จึงเห็นพ้องให้อัญเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ขอขอบคุณ ทรูปลูกปัญญา และ Wiki pedia)
วันรำลึกวงเวียน 22 กรกฎาคม
22 กรกฎาคม
22 กรกฎาคม
วันรำลึกวงเวียน 22 กรกฎาคม
วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัย นำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดสงคราม ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และการทหาร รวมทั้งสามารถเรียกร้องแก้ไขและยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ของชาติมหาอำนาจที่เคยทำไว้กับประเทศไทย
วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุ ณ จุดที่ถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม
(วิกิพีเดีย)
วันภาษาไทยแห่งชาติ
29 กรกฎาคม
29 กรกฎาคม
วันภาษาไทยแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นที่มาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
เว็บไซต์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า
"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก"
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อ พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก
29 กรกฎาคม
29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันเสือโคร่งโลก” หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือโคร่งในระบบนิเวศ โดย "วันเสือโคร่งโลก" ถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมเสือโคร่งโลก (Tiger Summit) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
กลุ่มประเทศที่มีการกระจายของเสือโคร่ง จำนวน 13 ประเทศ ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันเสือโคร่งโลก" (Global Tiger Day) เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของ "เสือโคร่ง" รวมทั้งการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของ "เสือโคร่ง"
ประเทศไทย มีประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ ประมาณ 130-160 ตัว ส่วนใหญ่พบในบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ในอดีตเมืองไทยเคยพบ "เสือโคร่ง" อาศัยอยู่ตามป่าทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันมีประชากรเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามพื้นที่อนุรักษ์ไม่กี่แห่งเท่านั้น
"เสือโคร่ง” เป็นสัตว์กินเนื้อผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชไม่ให้มีมากเกินไป ในอดีตเคยมีเสือโคร่ง อยู่ 8 สายพันธุ์ย่อย แต่สูญพันธ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน "เสือโคร่ง" อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ด้วยภัยคุกคามจากการล่าและการทำลายที่อยู่อาศัย
ขอบคุณ NationTV
วันสื่อสารแห่งชาติ
4 สิงหาคม
วันสื่อสารแห่งชาติ
4 สิงหาคม
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์" และ "กรมโทรเลข" ขึ้นในประเทศไทย
นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกิจการสื่อสารในประเทศ และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ภาพด้านขวา) เป็นอธิบดีผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 จึงได้มีการวมทั้ง 2 กรมนี้เป็นกรมเดียวกัน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”
เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงมีแก่กิจการไปรษณีย์ไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 กำหนดให้ วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ" และจัดงาน "วันสื่อสารแห่งชาติ" ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 โดยจัดร่วมกับงาน "ครบรอบ 100 ปี ของการสถาปนากรมไปรษณีย์โทรเลข" และการเฉลิมฉลอง "ปีการสื่อสารโลก" ของสหประชาชาติด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ " ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยายของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ ' Centrum ' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่าน ไปยังห้องที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย " (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)
ขอบคุณ Kapook.com | MThai.com
ความสูญเสียที่ฮิโระชิมะ
6 สิงหาคม 2488
วันที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เป็นผู้สั่งการ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488
ระหัสของ "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ มีชื่อเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโระชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิ โดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้น ที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโระชิมะ 140,000 คน และที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลง มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าว และในระยะต่อมายังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บ หรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดของทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย
วันรพี วันรำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมายไทย
7 สิงหาคม
7 สิงหาคม
รำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมายไทย รำลึกวันรพี
วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย
พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุ 45 ปี
สมัยพระองค์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างเต็มความสามารถ มิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พระยามานวราชเสวี เคยทูลถามว่า "ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าพระบาทมีพระประสงค์อย่างไร" ทรงตอบว่า "รู้ไหมว่า My life is service" ซึ่งหมายความว่า "ชีวิตของฉันเกิดมา เพื่อรับใช้ประเทศชาติ"
ด้วยคุณาณุปการอันล้นพ้น เนติบัณฑิตยสภา ได้ถวายการยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" เมื่อปี พ.ศ. 2497 และได้เริ่มต้นเรียกวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี ว่าเป็น "วันรพี"
ขอขอบคุณ: สำนักงานศาลยุติธรรม http://www.coj.go.th/day/rapee.html)
วันอาเซียน
8 สิงหาคม
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เมื่อเริ่มก่อตั้ง ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย
ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย 1. นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) 2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) 3. นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) 4. นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และ 5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ 6. บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2527 7. เวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2538 8. สปป.ลาว และ 9.พม่า เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2540 และ 10. กัมพูชา ประเทศล่าสุด เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2542 ทำให้ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
วันอาเซียน
8 สิงหาคม
โดยกองทุนเพื่อสวัสดิการสัตว์ระหว่างประเทศ (IFAW : International Fund for Animal Welfare) มาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงจำนวนแมวที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้คนรักแมวเฉลิมฉลองความรักและมิตรต่อกัน
วันนี้จึงขอย้อนอดีตเรื่องราวของแมวชาวบ้าน ที่ได้โพสไว้ ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 - 28 พฤษภาคม 2565 รวม 28 ตอน ก่อนที่นายโต แมวหางยาวจะหายหน้าไป มีเพียงนายอ้วนแมวหางสั้นเตร็ดเตร่อยู่ และมาย่องตะครุบนกดวงตกในสวนข้างบ้านอยู่เนือง ๆ
💓 ตอนล่าสุด คลั่งรักเป็นเหตุ https://www.facebook.com/1841232262/posts/10217432188476917/?d=n
💓 ตอนแรกโชว์แมว https://www.facebook.com/1841232262/posts/10216111379137509/?d=n
8 สิงหาคม 2565
วันแมวโลก
ขอบคุณภาพประกอบและเรื่องราว intro
วันแม่แห่งชาติ
12 สิงหาคม
12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
ในปี ค.ศ. 1872 จูเลีย วอร์ด ฮาว (Julia Ward Howe) นักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวบอสตัน สหรัฐอเมริกา ต้องการเรียกร้องสันติสุขจากการพบแม่ในวันแม่
ต่อมา มีผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส (Anna Marie Jarvis) คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ แม่ของเธอเสียชีวิตครบ 2 ปีพอดี โดยในปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ.1914) ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และใช้ดอกคาร์เนชั่นเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หากแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่หากแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
วันแม่ในประเทศไทย
ในประเทศไทย มีการจัดงานวันแม่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังผ่านพ้นวิกฤติสงครามแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้น แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่หลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ เรียกว่า "วันแม่ของชาติ" ดำเนินงานต่อมาหลายปี แต่ก็ไม่ต่อเนื่อง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ โดยให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น "วันแม่แห่งชาติ" และกำหนดให้ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ ที่ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย เป็นสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เริ่มมีการตั้งคำขวัญวันแม่แห่งชาติขึ้น และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปเผยแพร่เทิดพระคุณแม่ทั่วประเทศ
คำขวัญจากอดีต
2558 คือ "ดินและน้ำ ลมและฟ้า ป่าและเขา รวมกันเข้าคือทรัพย์สินแผ่นดินแม่ ฝากลูกไทยรวมใจภักดิ์รักดูแล เพื่อมอบแก่หลานเหลนไทยไปชั่วกาล"
2557 คือ "รักเรียน รู้งาน ถนอมบ้านเมืองไทย ร่วมใจสามัคคีคือลูกที่ดีของแม่"
2556 คือ "คำโบราณว่าดูนางดูอย่างแม่ คือคำแปลว่าแม่ดีมีลูกเด่น จะชายหญิงรู้ชั่วดีมีกฎเกณฑ์ เพราะจัดเจนแบบอย่างในทางดี"
2555 คือ "มือของแม่นั้นคือมือช่างปั้น ขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลา แต่เบามือ"
2554 คือ "เพลงชาติไทยเตือนไทยไว้เช้าค่ำ ให้จดจำจารึกใจไว้ทุกส่วน จะดำรงคงไทยได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี"
2553 คือ "แผ่นดินนี้แม่ของลูกใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าวที่เดินซ้ำย่ำหว่านไถ บำรุงดินจนอุดมสมดังใจ หวังนาไทยเป็นของไทยไปนิรันดร์"
2552 คือ "แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่ ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม"
2551 คือ "เมื่อเกิดมาอาศัยถิ่นแผ่นดินไหน ควรมีใจกตัญญูรู้คุณถิ่น หากคนไทยรู้ตอบแทนคุณแผ่นดิน จักไม่มีวันสิ้นแผ่นดินไทย"
2550 คือ "ข้าวในนาปลาในน้ำคำโบราณ คือตำนานความอุดมสมบูรณ์สิน ฝากลูกไทยร่วมห่วงแหนรักแผ่นดิน ถนอมไว้อย่าให้สิ้นแผ่นดินไทย"
2549 คือ "รักในหลวงพร้อมใจใส่เสื้อเหลือง รักบ้านเมืองจงน้อมใจให้สร้างสรรค์ ใส่สีเดียวแล้วใจเดียวกลมเกลียวกัน รักเช่นนั้นชาติของตนจึงพ้นภัย"
2548 คือ "ดุจดังแม่ผู้ประเสริฐบังเกิดเกล้า เลี้ยงเราทุกคนมาจนใหญ่ ทุกคำข้าวคือสินแผ่นดินไทย ควรตรองใจทดแทนคุณแผ่นดิน"
2547 คือ "เลี้ยงลูกมาอย่างน้อยเจ็ดร้อยปี ให้อยู่ดีกินดีมีสุขถ้วน แม้มีใจกตัญญูรู้การควร ไทยทั้งมวลจงตอบแทนคุณแผ่นดิน" และ
"แผ่นดินไทยให้ชีวิตจิตวิญญาณ เลี้ยงสังขารลูกไทยจนใหญ่กล้า เทียบพระคุณของท่านคือมารดา จงรักษาและทดแทนคุณแผ่นดิน"2546 คือ "สามร้อยหกสิบห้าวันคือวันแม่ มิใช่แค่วันใดให้นึกถึงสม่ำเสมอสมัครจิตคิดคำนึง เหมือนแม่ซึ่งรักลูกครบทุกวัน"
2545 คือ "แม่คือพระประจำอยู่ในบ้าน บูชาท่านไว้เถิดเกิดมิ่งขวัญ พระคุณแม่เลิศล้ำเกินรำพัน แม่จึงเป็นคนสำคัญทุกวันไป"
2544 คือ "พระองค์แรกผู้แสนดีให้ชีวิต ครูคนแรกผู้ประสิทธิ์การศึกษา สองหัตถ์โอบนคราพาร่มเย็น รวมคุณค่านี้ได้แก่แม่เราเอง"
ขอขอบคุณ กัลยาณมิตร | Kapook | MThai | Scoop MThai
วันครูโลก
5 ตุลาคม
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในระบบการศึกษา วันครูโลก (World Teacher’s Day) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากความร่วมมือของ UNICEF, องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั่วโลก เพื่อยกระดับอาชีพครู สร้างมาตรฐานและสวัสดิการของครู รวมถึงการจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสม
โดย “วันครูโลก” ถูดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 5 ตุลาคม มีการเฉลิมฉลองวันครูโลกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นวันครบรอบข้อเสนอของ ILO / UNESCO ในปี พ.ศ. 2509 เกี่ยวกับสิทธิของครู ในระบบสถาบันการศึกษา ครอบคลุมถึงบุคลากรทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ขอบคุณ: ไทยรัฐออนไลน์วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (วัน จป.)
12 พฤศจิกายน
ย้อนกลับไปเมื่อ 35 ปีที่แล้ว ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2528 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528
โดยข้อกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยรับผิดชอบงานความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง รวมถึงการพัฒนางานความปลอดภัยในการทำงาน จนต่อมาได้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายและชมรมของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีกระบวนการทำงานเป็นการทำงานแบบรวมพลังประชารัฐ ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและพัฒนางานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ขอบคุณ: เว็ปไชต์ สสปท.วันรู้รักสามัคคี
4 ธันวาคม
วันรู้รักสามัคคี : 4 ธ.ค.เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทยเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือเป็นวันรู้รักสามัคคี
นายตี นะเรศรัมย์ กับภาพประทับใจชาวไทย
18 ธันวาคม 2522
นายตี นะเรศรัมย์ (พ.ศ. 2492) ชายชาวบ้านผู้นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว เข้าเฝ้าในหลวง ร.9 เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรแหล่งน้ำในพื้นที่หนองกุดใหญ่ ณ บ้านโคกขมิ้น หมู่ 4 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2522
นายตี เล่าว่า
“ผมออกจากบ้าน ไปหว่านแหหาปลา ถึงหนองกุดใหญ่ไม่ถึง 5 นาที มีนายทหารเรียกผมให้ขึ้นจากหนองน้ำ บอกว่าในหลวงเสด็จมา ผมจึงขึ้นจากหนองน้ำ มานั่งที่บนกอหญ้า จากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาประทับตรงหน้า ที่ผมนั้งอยู่ ผมตกใจมากทำอะไรไม่ถูก
พระองค์ทรงตรัสถามว่า
นี่หนองอะไร
ผมตอบว่า
หนองกุดใหญ่ครับ
มีกี่ไร่
พันกว่าไร่ครับ …
เวลาน้ำมา มาจากไหน
ไม่ทราบ ครับ “
วันนั้นพระองค์ก็ได้ตรัสถามทุกข์ สุข และเรื่องอ่างเก็บน้ำหนองกุดใหญ่ด้วยความสนพระราชหฤทัย และหลังจากนั้นไม่กี่ปี ก็มีการพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองกุดใหญ่ ทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และระบายน้ำป้องกันปัญหาน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก จนมีน้ำกินน้ำใช้ และใช้ทำการเกษตรจนปัจจุบัน
จนเกิดภาพประทับใจ ให้คนไทยทั้งประเทศ ได้สุขใจและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทุกครั้งที่ได้พบเห็น
ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก- PPTV
- กระปุก ดอทคอม
ระลึก 199 ปี ชาตการ หลุยส์ ปาสเตอร์
27 ธันวาคม 2565
ระลึก 199 ปี ชาตการ หลุยส์ ปาสเตอร์
นักเคมีและนักจุลชีววิทยา คนสำคัญของโลก
เกิด 27 ธันวาคม 2365 ณ โดล, ฝรั่งเศส
เสียชีวิต 28 กันยายน 2438 ณ Marnes-la-Coquette, ฝรั่งเศส
ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากอง และมหาวิทยาลัยปารีส ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และศาสตราจารย์สาขาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ เมื่อปี 2410
วันนี้ท่านคงเสียใจ ที่เห็นลูกหลานใช้ฐานความรู้ของท่าน สร้างความเสียหาย ความตื่นกลัวแก่ชาวโลก เพียงเพื่อการค้าและทำลายล้าง
- วิกิพีเดีย
- ขอบคุณภาพจาก the standard
การล่มสลายของราชวงศ์ชิง
พ.ศ. 2454
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีน ที่ยาวนานมากว่า 2,000 ปี
ในทางการปกครอง
การบริหารจัดการที่ล่มสลายล้วนมีที่มาเหมือนกัน 3 ประการเช่นกัน คือ
1) ความแตกแยกในสังคม
2) ผู้นำไม่เข้มแข็ง
3) ถูกแทรกแทรงจากผู้มีอำนาจ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ขาดความสามัคคี" นั่นเอง
ในทางพุทธ
เราเชื่อว่าสรรพสิ่งล้วน อนิจจัง หมายถึง สภาวะธรรมที่มีอยู่จริง เป็นความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก ถือเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 3 ประการของ ไตรลักษณ์ (ลักษณะธรรมชาติที่ไม่แน่นอน 3 ประการ)
1. อนิจจัง/อนิจจตา (impermanence) คือ ความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ถาวรคงที่แน่นอน ความไม่คงที่อยู่ได้ในสภาพเดิมตลอดไป ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายแปรปรวนไป
2. ทุกฺขัง/ทุกขตา (stress and conflict) คือ ความเป็นทุกข์ หมายถึง ความผิดหวังที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของตนเอง รวมถึงภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นของเหตุอันไม่พึงประสงค์ เกิดสภาพฝืนทน และขัดแย้งอยู่ในตัว
3. อนัตตา/อนัตตตา (soullessness หรือ non-self) คือ ความเป็นอนัตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตน หรือ ความไม่มีตัวตนแท้จริงของสรรพสิ่ง และไม่สามารถควบคุมให้คงอยู่ได้ตามความมุ่งหมายของตน