บันเทิงคดี

สาระ และประวัติศาสตร์ในวงการบันเทิง

The Life of Death

The Life of Death อะนิเมชั่นความยาวเพียง 5 นาที ไม่มีบทพูด ไม่มีเสียงบรรยาย มีเพียงเสียงดนตรีฟังสงบสบายคลอไปตลอดเรื่อง เล่าถึง “ความตาย” ที่ใช้ภาพแทนด้วยยมทูต กับ “ชีวิต” ซึ่งใช้ภาพแทนด้วยกวางตัวเมียตัวหนึ่ง

อะนิเมชั่นเรื่องนี้สร้างสรรค์ขึ้นโดย Marsha Onderstijn นักศึกษาชาวเนเธอแลนด์ เพื่อเป็นชิ้นงานจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แต่อะนิเมชั่นเรื่องนี้ก็ได้รับการพูดถึงมากกว่าเป็นแค่ผลงานของนักศึกษาว่า เป็นความงดงามในการถ่ายทอดเรื่องของชีวิตและความตายได้อย่างอ่อนโยน ซาบซึ้ง และเป็นจริงที่สุดเรื่องหนึ่ง

ความตายที่น่ากลัวสำหรับทุกคน แต่เราเคยถามตัวเองไหมว่า “เรากลัวความตายเพราะอะไร” และ “ทำไมความตายถึงน่ากลัวสำหรับเรา” ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วความตายอยู่เคียงข้างเรามาตลอด เรียกว่าแยกออกจากชีวิตของเราไม่ได้เลย

เหมือนเรื่องราวใน The Life of Death กวางน้อยพยายามหลีกเลี่ยงความตายในตอนแรก แต่ความตายก็ยังอยู่เคียงข้างเธอไปทุกขณะ จนในที่สุด เธอก็ยอมรับความจริงได้ว่า ชีวิตและความตายเป็นความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้ เป็นธรรมชาติที่ทุกคนต้องเจอ และไม่จำเป็นต้องกลัว เพราะความตายอ่อนโยนกับชีวิตมากกว่า

For you ...

หนังสั้นของอินเดีย ความยาว 3:07 นาที ที่แสดงถึงสิทธิที่ปัจเจกชน คิดว่าตนเองมีเปี่ยมล้น

  • เพลง"บัวขาว" ได้รับการยกย่องจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชีย องค์การยูเนสโก ให้เป็น "เพลงแห่งเอเชีย" โดยมอบหมายให้ Frances Yip เป็นผู้ขับร้องบันทึกเสียง

SONY WALKMAN อารยธรรมบันเทิงที่โลกไม่ลืม

ในยุค 80 ไม่มีนักฟังเพลงคนใดไม่รู้จักวอล์คแมน หรือ ชาวด์อะเบ๊าท์ ครื่องเล่นเทปตลับ Cassette Tape แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับหูฟังสเตอริโอขนาดจิ๋วที่ให้คุณภาพเสียงทุ้มแหลมได้ยอดเยี่ยมราวกับได้ฟังจากลำโพงตัวใหญ่ ซึ่งเป็นเครื่องเล่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนั้น

โซนี่วอล์คแมน ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 กค. 2522 (1979) เพียง 2 เดือนแรกก็ทำยอดขายถล่มทลายเกินเป้าหมาย ปีถัดมาจึงผลิตออกขายในประเทศอื่น ๆ และใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศไทยเรียก ซาวด์อะเบ๊าท์ ในอังกฤษเรียก Stowaway ในออสเตรเลียและสเปนเรียก Freestyle แต่ไม่นานชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ก็ถูกยกเลิกไป และเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Walkman ในทุกประเทศทั่วโลก

SONY TPS-L2 เป็นวอล์คแมนรุ่นแรก มีขนาดค่อนข้างเทอะทะและน้ำหนักมาก เพราะประกอบด้วยชิ้นส่วนโลหะเป็นส่วนใหญ่ รุ่นต่อมาจึงถูกพัฒนาให้เล็กกะทัดรัด ขนาดตัวเครื่องพอ ๆ กับตัวตลับเทป พร้อมฟังก์ชั่นและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ใช้งานอย่างเต็มเหยียด เข่น กลไกออกแบบพิเศษมีความสมดุลตลอดเวลา แม้ในขณะออกกำลังกาย เสียงจะไม่แกว่งหรือวูบวาบ มีวงจร Dolby B/C ช่วยขจัดเสียงรบกวนในเนื้อเทป รองรับเทปโครเมี่ยมหรือเทปโลหะ ทำให้ได้เสียงย่านความถี่สูงที่ชัดเจนสดใสขึ้น

ในรุ่นหลัง ส่วนใหญ่เป็นระบบ Auto Reverse กลับหน้าเทปอัตโนมัติ หรือมาพร้อมกับภาครับวิทยุ AM/FM บางรุ่นสามารถบันทึกเสียงจากวิทยุหรืออัดเสียงจากภายนอกผ่านไมโครโฟนที่มีอยู่ในตัว

เมื่อมีฟังก์ชั่นเพิ่ม จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานที่มากขึ้น โซนี่จึงพัฒนาประสิทธิภาพแบตเดอรี่ของตน โดยบางรุ่นสามารถชาร์จไฟได้ หรือมีแผงโซล่าร์เซลที่ด้านหลังเครื่องเพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ด้วย

จึงไม่แปลก ที่ผลิตภัณฑ์วอล์คแมนของโซนี่จะเป็นผู้นำในตลาดโลกมาโดยตลอด แม้จะมีค่ายอื่น พยายามแข่งขัก็ตาม เช่น โตชิบ้า พานาโซนิค ไอว่า และ ซันโย เป็นต้น

ครั้นเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปมากมาย รวมทั้งบบทบาทใหม่ของ Smartphone มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นและเข้ามาแทนที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยใช้กันมาในอดีต เช่การดูหนังฟังเพลงก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็น Digital File ที่รองรับการรับฟัง/รับชมผ่านระบบเครือข่าย Internet/Network ได้ในทุกที่ทุกเวลา

ดังนั้นในปี 2553 (2010) โซนี่จึงตัดสินใจยุติการผลิตเครื่องเล่นวอล์คแมนที่ใช้เทป Casssette Tape (นอกเสียจากในวาระพิเศษ ที่อาจทำขึ้นเป็นที่ระลึกในจำนวนจำกัด) อย่างไรก็ตาม ชื่อผลิตภัณฑ์ Walkman ยังคงอยู่ต่อไป โดยได้กลายเป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลความละเอียดสูง (Hi-Res) ตามยุคสมัยแทน

รวมอายุของวอล์คแมนแบบอนาลอก 31 ปี มียอดจำหน่าสูงถึง 400 ล้านเครื่อง

จดหมายรักจากเมียเช่า เพลงไทยคำอังกฤษคำ

เพลง "จดหมายรักจากเมียเช่า" ขับร้องโดย มานี มณีวรรณ คำร้อง-ทำนอง อาจินต์ ปัญจพรรค์

เพลงหนึ่งที่ครูอาจินต์แต่งแล้วโด่งดังมากในยุคหนึ่ง เป็นเพลงที่ครูแต่งด้วยอารมณ์สนุกใช้ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ แบบที่พวกเมียเช่าชอบใช้กัน เพลงนี้ร้องโดยมานี มณีวรรณ นักร้องไนท์คลับแนวเซ็กซี่ ที่มีชื่อเสียงจากเพลงชุดจุดเทียน

เพลง เชียงรายรำลึก

มีความผูกพันกับ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ด้วย อ.โกวิท เกิดศิริ :ผู้แต่งเพลงนี้ เมื่อปี 2507-2508ในระหว่างเป็นนักดนตรีร่วมกับวงดนตรี รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์ แต่งให้กับพยาบาลสาวอันเป็นที่รัก แห่ง รพ. นี้ ผู้ขับร้องต้นฉบับคือ อุทัย วงศ์วาลย์ ต่อมาปี2520:ได้รับการบันทึกเสียงครั้งแรก โดย อุทัย วงศ์วาลย์ ขับร้องต้นฉบับ เพลงนี้จึงเป็นที่รู้จักจนทุกวันนี้ ปัจจุบัน อุทัย วงศ์วาลย์ อายุ 72 ปี (2564) รักษาอาการป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ที่ รพ.เชียงรายฯ

นางแบบบนโลโก้ของ Columbia Pictures​

พ.ศ. 2535 (1992)

เจนนี่​ โจเซฟ (Jenny Joseph) หญิงสาวชาวอเมริกัน แม่บ้านจากรัฐหลุยส์เซียน่า นางแบบที่ยืนอยู่บนโลโก้ของ Columbia Pictures​ ที่คุ้นตาพวกเรามาตั้งแต่ปี​ 1992 และภาพปัจจุบันของเธอ…

สุกียากี้ เพลงดังสะท้านโลก

มิถุนายน 2506

มิถุนายน พ.ศ.2506 (ค.ศ.1963) เพลงสุกี้ยากี้ ขึ้นติดอันดับ 1 บิลบอร์ด ของสหรัฐอเมริกา และโด่งดังไปทั่วโลก


หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945) หลังญี่ป่นยอมรับการพ่ายแพ้ กองทัพอเมริกันเข้ายึดครองการบริหารจัดการ และล้มล้างกองทัพทั้งหมดของญี่ปุ่น โดยกองทัพ อเมริกันร่วมทำหน้าที่ป้องกันประเทศญี่ปุ่นด้วย


กระทั่งถึงปลายปี พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) รัฐสภาไดเอะของญี่ปุ่น ประชุมเพื่อจะต่อสัญญาให้กองทัพอเมริกันต่อไป ท่ามกลางการเดินขบวนคัดค้านของชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่ก็ไม่เป็นผล รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจต่อสัญญาให้กองทัพอเมริกัน ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่อไป


เรียวกุสุเกะ อิเอะ ที่ร่วมประท้วงในครั้งนั้น กลับบ้านด้วยความผิดหวัง ขมขื่นใจ และเขาได้แต่งเพลง ที่ต่อมาได้โด่งดังไปทั่วโลก


หนุ่มชาวอังกฤษ เดินทางไปญี่ปุ่น และได้ยินเพลงภาษาญี่ปุ่นนี้ และเมื่อได้ฟังเขาไม่เข้าใจความมาย แต่ชมชอบในเมโลดี้และทำนองของเพลง และติดใจเพลงนี้ เหมือนกับที่เขาชอบอาหารญี่ปุ่นเมนูสุกียากี้ เมื่อกลับถึงอังกฤษ เขาเอาเพลงนี้ไปเปิด โดยตั้งชื่อเพลงนี้ว่า สุกี้ยากี้ ซึ่งเป็นอาหารที่เขาชอบ นั่นเอง เมื่อคนเปิดเพลง ชาวอเมริกัน (DJ: Disc Jockey) ได้ยินเพลงนี้จากอังกฤษ ก็นำไปเปิดเผยแพร่ในอเมริกา จนเป็นที่ติดหูชาวอเมริกัน ที่ชมชอบในเมโลดี้และทำนองเพลงเช่นกัน


มิถุนายน ปี 2506 เพลง สุกี้ยากี้ คือเพลงที่ขึ้นอันดับ1 บิลบอร์ด ของอเมริกา และโด่งดังไปทั่วโลก พร้อมกับชื่อ นักร้องหนุ่ม เคียว ซากาโมโต้ เพลงที่แสดงออกถึง ความขื่นขม แต่ก็แฝงความหวังในอนาคต หาใช่เพลงรักหวานซึ้งของหนุ่มสาวแต่อย่างใด