อดีตกาลนานมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

หลังจากกรุงศรีฯล่มสลาย ผู้นำตามหัวเมืองแต่ละแห่งพากันสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเจ้าผู้ปกครองนคร อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและลักษณะของประชาชนในแต่ละภาคที่ค่อนข้างแตกต่างกัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแตกออกเป็นประเทศต่างๆทันที แต่คาดว่า พม่าคงยกทัพมาปราบหัวเมืองเหล่านี้ในภายหลัง

ส่วนอยุธยาและภาคกลางทั้งหมด พม่าประกาศไปทั่วโลกว่า เป็นส่วนหนึ่งของพม่า และอังกฤษซึ่งเข้ามายึดพม่าเป็นเมืองขึ้น ต้องประกาศรับรองตามหลักสากลอย่างแน่นอน หลังจากนั้นเขตแดนประเทศจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกต่อไป

ในการเสียกรุงฯครั้งที่สอง กรุงศรีอยุธยาได้ถูกพม่าทำลายอย่างถอนรากถอนโคน ชนิดที่ว่าไม่ให้มีโอกาสฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่พม่าเคยทำสำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้วกับมอญ

ก่อนหน้าที่พม่าจะตีกรุงศรีอยุธยาแตกไม่กี่ปี พระเจ้าอลองพญาได้ยกทัพเข้าตีหงสาวดี เมืองหลวงของมอญ แล้วเผาเมืองจนราบคาบ แม้ว่าในอดีตมอญจะมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถหลายพระองค์ ถึงขนาดเคยตีอังวะเมืองหลวงของพม่าสำเร็จ แต่ในช่วงเวลาวิกฤติของการสร้างชาติ มอญกลับไม่สามารถหาผู้นำในการกู้เอกราชคืนมา ทำให้มอญ ที่เป็นเชื้อชาติหลักของพม่า ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นมาก่อนหลายพันปี จนชาวต่างชาติพากันเรียกขานดินแดนแห่งนั้นว่า “รามัญประเทศ” มาแต่โบราณกาล วันหนึ่งกลับต้องกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่มีอาณาเขตประเทศเป็นของตนเอง และถูกคนเชื้อสายพม่ากดขี่ข่มเหงอยู่ตลอดเวลาตราบจนปัจจุบัน

ครั้งที่กรุงศรีฯแตก ชาวอยุธยาเสียชีวิตไปประมาณสามแสนคน ที่เหลือถูกกวาดต้อนกลับไปพม่า ไม่มีใครเลยที่คิดจะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการกอบกู้ชาติบ้านเมือง ต่างคนต่างหนีเอาตัวรอด บ้างก็เข้าสวามิภักดิ์กับพม่า เช่น เชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าเอกทัศหลายพระองค์ยอมเข้าด้วยกับแม่ทัพพม่า เพื่อให้ไม่ถูกประหารชีวิต

พม่าเป็นชาตินักรบที่เก่งกล้า เป็นมหาอำนาจของดินแดนแถบนี้ในยุคนั้น แม้แต่กองทัพจีนและอินเดียก็เคยถูกพม่าตีจนยอมยุติศึก การที่คิดจะกู้ชาติไม่ใช่เรื่องง่าย และเชื้อสายราชวงศ์ไทย ก็ถูกเข่นฆ่าหรือควบคุมตัวไปอยู่ที่พม่าจนหมด

ในช่วงเวลานั้น โอกาสสิ้นชาติไทยมีสูงถึง 90 % ถ้าไม่มีทหารเอกที่ชื่อ “พระยาตาก” พาทหารห้าร้อยนาย ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าออกมา

แล้วเรื่องเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นจริงๆ ชั่วเวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังจากเสียกรุง ได้มีกองทัพเรือกว่าร้อยลำระดมพลมาจากเมืองจันทบุรี แล่นไล่เลาะชายฝั่งตะวันออกมาจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วกรรเชียงฝ่ากระแสน้ำเข้าสู่อยุธยา ทำสงครามไล่ฆ่าฟันพวกพม่าล้มตายแตกทัพกระจัดกระจาย รวมไปถึงสังหารสุกี้พระนายกอง แม่ทัพพม่าผู้ซึ่งเคยฆ่าล้างบางชาวบ้านบางระจันอย่างโหดเหี้ยม

ในที่สุด กองทัพเรือก็ชิงกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ ทำให้เอกราชกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งหนึ่ง ผู้นำในการต่อสู้ครานั้นก็คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั่นเอง

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเริ่มต้นชีวิตราชการอย่างนายทหารสามัญผู้หนึ่งที่มีความรักชาติอย่างแรงกล้า และเกิดในตระกูลคนจีนที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ จึงไม่มีพระบารมีโดยกำเนิด การกู้ชาติและสร้างชาติสำหรับพระองค์จึงยากลำบากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

กู้ชาติว่ายากแล้ว แต่สร้างชาติขึ้นมาใหม่ยากกว่านั้น อยุธยาโดนเผาทำลายจนไม่เหลืออะไรเลย ตอนต่อไปจะมาเล่าถึง การสร้างอาณาจักรไทยขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยต้องไล่ตีนครศรีธรรมราช โคราช พิมาย พิษณุโลกและเชียงใหม่ กลับคืนมา เลยไปถึงลาว เขมร ทวาย มะริด ตะนาวศรี กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี เพื่อรวบรวมผืนแผ่นดินให้พวกเราได้อยู่อาศัยตราบจนทุกวันนี้

อ่านครบทั้ง 8 ตอนได้ที่ facebook.com/doctorsom

ตอนที่ 2 สงครามรวมชาติ

ตอนที่ 3 ศึกอะแซหวุ่นกี้

ตอนที่ 4 สร้างบ้าน แปงเมือง

ตอนที่ 5 พระราชหฤทัย

ตอนที่ 6 กบฏกรุงธนบุรี

ตอนที่ 7 ศึกพม่า

ตอนที่ 8 กรณีสวรรคต

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ทันตแพทย์สม สุจีรา

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ

ปี 2479 ยังไม่มีเรดาร์ ระบบป้องกันภัยทางอากาศตรวจสอบการการมาของเครื่องบินข้าศึก ใช้ระบบการฟังเสียง...

ในรูป เป็นการตรวจพลของจักรพรรดิฮิโรฮิโตดำเนินผ่าน "Type 90 Large Air Sound Detector" ของกองทัพญี่ปุ่น***


มีดพับ

“มีดพับ” อุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ใช้งานได้แต่งาน Indoor ไปจนถึงงาน Outdoor ไม่ว่าจะเป็นงานเล็ก ๆ อย่างการไขสกรูนอต ไปจนถึงงานเลาะเกล็ดปลา ตัดไม้ หรือจะเป็นเครื่องมือในการเอาชีวิตรอด และควรพกไว้สำหรับใช้ในยามคับขัน ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายและตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ทำให้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ผู้คนนิยมจะมีติดตัวเอาไว้

ในปัจจุบันนี้ตลาดของมีดพับต่างเต็มไปด้วยความหลากหลายจากแบรนด์หลายแบรนด์ที่ต่างพยายามสร้างเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่ถ้าหากจะพูดถึงหนึ่งในแบรนด์ผู้ผลิตมีดพับระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้องรู้จัก “Victorinox” แบรนด์เก่าแก่อายุกว่า 130 ปีผู้ผลิตมีดพับชื่อดังอย่าง “Swiss Army Knife” หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ “มีดพับสวิส” มีดพับสารพัดประโยชน์ที่มีเอกลักษณ์เป็นภาพจำด้วยด้ามมีดสีแดง สัญลักษณ์โล่ตรงกลางบวกกับไม้กางเขน ที่ดัดแปลงมาจากธงประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ก่อนที่ Victorinox จะเป็นแบรนด์มีดพับสุดเก๋าที่ครองพื้นที่อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลกมาอย่างยาวนานนั้น คงต้องเท้าความไปก่อนว่าแบรนด์เองก็ไม่ได้เป็นผู้คิดค้น “มีดพับสวิส” อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ แต่เป็นประเทศเยอรมนีที่ถือว่าเป็นผู้คิดค้นและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงปี 1880 เยอรมนีในช่วงเวลานั้นนับว่าเป็นผู้ผลิตมีดรายใหญ่ให้กับกองทัพสวิส (Swiss Army) โดยที่กองทัพใช้มีดพับเหล่านี้ในการเปิดอาหารกระป๋อง และใช้ไขควงในการซ่อมบำรุงอาวุธปืน

จุดเริ่มต้นของแบรนด์ Victorinox นั้นเริ่มขึ้นจริง ๆ ในปี 1884 เมื่อ Karl Elsner ก่อตั้งโรงงานผลิตมีดขนาดเล็ก ที่เมือง Ibach เมืองเล็ก ๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีผู้สนับสนุนหลักเพียงมารดาเท่านั้น

ในยุคที่การพัฒนาอุตสาหกรรมยังไม่เริ่มต้นขึ้นอย่างช่วงปี 1891 การทำมีดส่วนใหญ่ยังคงถูกผลิตด้วยวิธีการทำมือตามโรงตีเหล็กขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เครื่องจักรในสมัยนั้นยังไม่ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากเพียงพอทำให้ยังต้องใช้ช่างฝีมือในการทำมีดเป็นส่วนใหญ่ Karl Elsener ได้มองการณ์ไกลและเริ่มก่อตั้งสมาคมที่รวบรวมช่างทำมีดจากทั่วประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภายใต้ชื่อ “Swiss Master Cutlers” เพื่อต่อกรกับบริษัทผลิตมีดจากประเทศเยอรมนีและด้วยการก่อตั้งสมาคมนี้เองทำให้แบรนด์สามารถผลิตมีดได้เพียงพอกับความต้องการของกองทัพสวิส

ภายในระยะเวลาไม่นาน ในปี 1897 แบรนด์ได้ยกระดับตัวเองขึ้นอีกขั้นโดยการจดบันทึกสิทธิบัตรสำหรับมีด Swiss Officer และ Sports Knife และทำให้ปัจจุบันมีดตัวนี้ได้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม “Swiss Army Knife”

ปัจจุบัน “Swiss Army Knife” ก็ยังคงเป็นมีดพับที่ใช้กันอยู่ในกองทัพสวิส ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย สามารถพลิกแพลงใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ผู้ชายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทุกคนต่างก็ต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร และสิ่งหนึ่งที่พวกเขาจะได้รับก็คือมีดพับสวิสที่จะกลายเป็นสิ่งที่ติดตัวเขาตั้งแต่ตอนนั้น

เพื่อเป็นการระลึกถึงแม่ของเขา ในปี 1909 Karl Elsener ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยใช้ชื่อแรกของมารดาคือ Victoria เป็นชื่อของแบรนด์ และใช้สัญลักษณ์โล่และไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้คนจดจำ

เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้ในปี 1921 เกิดการปฏิวัติวงการการทำมีดจากสิ่งประดิษฐ์เหล็กกล้าไร้สนิม Inox นวัตกรรมที่ทำให้มีดนั้นมีความคงทนมากขึ้นกว่าเดิม ดังนี้แล้ว Victoria จึงไม่รอช้าในการโอบรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น “Vitorinox” ซึ่งเกิดจากการผสานชื่อเก่าและนวัตกรรมสุดเจ๋งนี้ไว้ด้วยกัน

ปัจจุบัน Victorinox ได้ก้าวพ้นกรอบของแบรนด์มีดพับไปแล้วด้วยสินค้าที่หลากหลาย ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกาน้ำหอม และกระเป๋าเดินทาง ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคน Outdoor และ “การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ที่ว่ามานี้เองก็กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จครองใจผู้คนทั่วโลกมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทั้งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาฟังก์ชันการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภค จนถูกอกถูกใจผู้คนหลากหลายกลุ่มเป็นวงกว้าง

Swiss Army Knife มีดพับที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน

ฟังก์ชันการใช้งานของ Swiss Army Knife นั้นจะมีความแตกต่างไปในแต่ละรุ่น แต่ถ้าหากพูดถึงรุ่นยอดนิยมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทั้งในบ้านและนอกบ้านแล้วล่ะก็ คงไม่พ้นรุ่นสุดฮิตอย่าง “Swiss Champ”

Swiss Champ เป็นมีดพับที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ตั้งแต่งานปอกสายไฟ ไปจนถึงการเลาะเกล็ดปลา ด้วยน้ำหนักเพียง 185 กรัม และขนาดที่เหมาะมือกะทัดรัดด้วยความหนาเพียง 33 มิลลิเมตร ยาว 91 มิลลิเมตร พร้อมฟังก์ชันการใช้งานมากถึง 33 ฟังก์ชัน เครื่องมือที่มีมาพร้อมกับตัวมีด

ที่มา : https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33609&lang=thเรื่อง : กิตติวุฒิ เจริญผล

คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับสารคดีทั่วโลก

ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอเหล่านี้ จากสังคมออนไลน์

  • ไอน์สไตน์ อัจฉริยะโลก
  • โฆษณาแป้งน้ำพรรณงาม
  • โฆษณาห้างสรรพสินค้าในอดีต (มีบันไดเลื่อนแห่งแรก)
  • ปริศนาชีวิตแมว
  • ตำนานข้าวซอย จ.เชียงใหม่
  • ชามตราไก่ จ.ลำปาง
  • ชามตราไก่ จ.ลำปาง
  • ตำนานเครื่องใช้ไฟฟ้าธานินทร์
  • ประเทศที่มีมรดกวัฒนธรรมที่ดีที่สุดประจำปี 2564
  • วัฒนธรรมการไหว้เจ้าชาวจีน