ตอนที่ 698
ปล่อยวาง แนวคิดสองพันปี
ตอนที่ 698 ปล่อยวาง แนวคิดสองพันปีเพื่อความสุขสำเร็จในงานตน
ได้อ่านแนวคิดโบราณลัทธิสโตอิก (Stoicism) แนวคิดทางจริยศาสตรบุคคล ที่ใช้ตรรกะและมุมมองต่อโลกธรรมชาติ สู่ความสุขสำเร็จในการงานของมวลมนุษย์จึงนำมาปรุงแต่ง-เผยแพร่ แบบรู้ไปก็เท่านั้น ดังนี้
1. คุมสิ่งที่ควบคุมได้: ไม่มีใครควบคุมทุกสิ่งในชีวิตได้ แต่ทุกคนล้วนควบคุมตนเองได้ (จิตตะ)
2. เน้นปัจจุบัน: อย่าติดอยู่กับอดีต (วิตก) หรือกับอนาคต (กังวล) จนเป็นทุกข์ ควรอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด (จิตตะ)
3. ยอมรับความไม่แน่นอน: สรรพสิ่งบนโลกล้วนไม่จีรัง การยอมรับความจริงนี้ ช่วยลดความวิตก-กังวลได้ (วิมังสา)
4. รับรู้ลมหายใจ: ช่วยให้ตระหนักรู้ถึงความคิดและอารมณ์ปัจจุบันของตนได้ดี (จิตตะ)
5. อดทนคือทางรอด: ความอดทน ช่วยรับมือกับความยากลำบากได้อย่างดี (วิริยะ)
6. สลัดทิ้งสิ่งไม่จำเป็น: การขจัดสรรพสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ช่วยให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น (วิมังสา)
7. มีทางออกในทุกปัญหา: ทุกความยากลำบากทุกวิกฤต มีโอกาสแฝงตัวอยู่เสมอ (ฉันทะ)
8. เปรียบตัวเองกับตนเอง: มีความพอใจในสถานะตน ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น (ฉันทะ)
9. ทำดีทุกวัน: การดำเนินตนให้ดีที่สุดทุกๆ วัน คือเส้นทางสู่ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ (จิตตะ)
10. ขอบคุณทุกสิ่ง: สรรพสิ่งล้วนมีดีและไม่ดีในตัวเอง การชื่นชมยินดีในสิ่งที่ตนมี ช่วยให้มีความสุข (ฉันทะ)
11. เรียนรู้จุดด้อยตน: จุดอ่อนและความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของทุกชีวิต การเรียนรู้จุดอ่อนด้อยนั้น ช่วยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน (วิมังสา)
12. คิดถึงผู้อื่นก่อนลงมือ: การสร้างประโยชน์ ไม่เบียดเบียน-ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและมีความสุข สังคมร่มเย็น (วิมังสา)
มิติความสุขสำเร็จในงาน
ฉันทะ: ความรักความพอใจในงาน
วิริยะ: ความเพียรพยายามลงมือทำ
จิตตะ: เอาใจใส่ รับผิดชอบในงานที่ทำ
วิมังสา: ทำงานด้วยปัญญารอบคอบ พินิจพิเคราะห์
22 กันยายน 2567