![]() คือ สิ่งที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ได้แก่ ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าชไฮโดรฟูโอคาร์บอน (HFCs) ก๊าชเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) และก๊าชซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6) อันเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบ (Fossil Fuel) ให้เป็นพลังงานในการแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรม หรือขับเคลื่อนยานยนต์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ ดังนั้น "คาร์บอนเครดิต" จึงหมายถึง ก๊าซที่เป็นตัวทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจกต่างๆ ที่แต่ละโรงงานสามารถลดได้ จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว คาร์บอนเครดิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ที่นานาชาติร่วมกันจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2540 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change) เป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็น สนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก คือ บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับเดียวของโลกที่มีเป้าหมายผูกพันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือหลักที่รัฐบาลทั่วโลกต้องใช้เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน โดยเป็นข้อกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องร่วมมือกันในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 โดยกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว 41 ประเทศ (Annex 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ย 5.2% ต่อปี เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533 ภายในปีพ.ศ. 2555 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอีก 148 ประเทศ (Non-Annex 1) พิธีสารเกียวโตยังไม่ได้กำหนดให้มีหน้าที่ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ต้องรายงานปริมาณการก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในประเทศแต่ละปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการผ่อนปรนให้ประเทศพัฒนาแล้วบรรลุพันธกรณีนี้ได้ง่ายขึ้น พิธีสารโตเกียวจึงกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถสนับสนุนเทคโนโลยีสะอาดแก่ประเทศกำลังพัฒนาได้ ด้วยการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศเหล่านั้น หรืออีกทางหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วอาจซื้อโควต้าคาร์บอน จากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาโดยตรง เพื่อนำปริมาณคาร์บอนที่พวกเขายังไม่ได้ใช้ ไปหักลบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตัวเอง โดยเป็นเสมือนเครดิตส่วนลดให้แก่ประเทศพัฒนานั้นๆ สามารถปล่อยก๊าซก่อภาวะเรือนกระจกได้มากกว่าปริมาณที่ถูกกำหนดไว้ โดยพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) ขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกลไกหลัก 3 ประการ คือ
ตัวอย่างการซื้อสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ประเทศ ก อยู่ในทวีปยุโรป เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ถูกกำหนดให้ลดก๊าซเรือนกระจก 50 ล้านตัน แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการที่มีในประเทศ ก พยายามลดอย่างเต็มที่แล้ว ลดได้เพียง 30 ล้านตัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนามาอีก 20 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ ตันละประมาณ 3,000 บาท คิดเป็นประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ประเทศ ก จึงติดต่อฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ ข เพื่อช่วยสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เมื่อสร้างเสร็จทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าฟาร์มหมูลดลงเดือนละ 2 ล้านบาท ถือเป็นการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม สมมติว่าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ ๑ ล้านตัน จำนวนที่ลดได้ จะถูกเรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งประเทศ ก จะได้คาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันไปรวมกับ 30 ล้านตันที่มีอยู่ หรือในอนาคตฟาร์มหมูที่อยู่ใกล้เคียงอาจใช้เทคโนโลยีเดียวกัน มาลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเอง แล้วขายคาร์บอนเครดิตให้ประเทศ ก ก็ได้ คือการที่ประเทศ ก ซื้อการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผู้ประกอบการในประเทศ ข เพื่อทดแทนการที่ประเทศ ก เองนั้น ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศตนได้ด้วยตัวเอง จึงต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากที่อื่น เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าปรับ โดยนำมาคำนวณเหมือนว่าได้ดำเนินการลดในประเทศของตนเอง ทั้งนี้หน่วยงานหรือบริษัทที่จะซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้ ต้องผ่านมาตรฐานตาม โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM Project-Carbon Credit) กลไกดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต "ตลาดคาร์บอน" หรือ ตลาดซื้อขายคาร์บอน (Carbon Market) เริ่มจากแนวคิดที่ใช้กลไกตลาดเป็นแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดให้ “คาร์บอนเครดิต” เป็นสินค้าสำหรับการซื้อขายได้ จึงทำให้เกิดเป็น “ตลาดคาร์บอน” ขึ้น รวมทั้งยังทำให้เกิดการกำหนดราคาของคาร์บอนเครดิตด้วย ซึ่งตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้ว กลไกการตลาดดังกล่าวจะเป็นการทำให้ต้นทุนของการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำที่สุด ปัจจุบันประเทศที่มีความจำเป็นต้องจัดหาหาคาร์บอนเครดิตมากที่สุด คือสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นพัฒนาแล้วที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Emission) ออกมามากที่สุด (แต่สหรัฐอเมริกายังไม่ให้สัตยาบันในพิธีสารโตเกียว ทั้งๆที่สหรัฐเป็นผู้ก่อมลพิษก๊าซเรือนกระจกอันดับ ๑ ของโลก) รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่นและจีน ส่วนประเทศไทยนอกจากจะยังไม่จำเป็นต้องจัดหาคาร์บอนเครดิตเพิ่มเติม (แต่อาจจะต้องเตรียมการลด GHG เช่นมีเทนจากนาข้าว) แล้ว ยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากกองทุนคาร์บอนเครดิต เช่น ของธนาคารโลกและหน่วยงานระดับประเทศ การดำเนินงานของประเทศไทย ในฐานะภาคีสมาชิกในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ประเทศไทยไม่มีพันธกรณีในจำนวนปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารโตเกียว ยกเว้นมาตรา ๑๐ ซึ่งกําหนดให้ทุกภาคีร่วมรับผิดชอบดําเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามขีดความสามารถและสถานการณ์ของแต่ละประเทศด้วยความสมัครใจ และมีสิทธิเข้าร่วมโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด แต่ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก พ.ศ. 2551-2555 (ค.ศ.2008-2012) เหมือนประเทศพัฒนาแล้วใน Annex 1 โดยประเทศไทยได้จัดทำรายงานแห่งชาติ (National Inventories) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี ตลอดจนมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ที่ดำเนินการขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาหรือรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ออก "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ทำให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO) เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ของประเทศไทย สรุป คาร์บอนเครดิต คือ สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหากประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนได้ ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อลดได้ก็จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ประเทศพัฒนาไม่ต้องชำระค่าปรับจากพิธีสารเกียวโต ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาก็ได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางเลือกที่สะอาด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาเตือนว่า หากประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการปล่อยก๊าซมีเทนจากการเกษตร ได้นำคาร์บอนเครดิตมาขายจนหมด จะกลายเป็นภาระผูกพันถึงอนาคต มีข้อตกลงใหม่ที่กำหนดให้ประเทศด้อยพัฒนาอยู่ในข่ายที่ต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจกด้วย ประเทศเหล่านี้ก็จะไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าไปหมดแล้ว ทำให้ต้องไปหาซื้อคาร์บอนเครดิต หรือต้องจ่ายค่าปรับ เพราะไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ ติดตาม เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ![]() บทความที่เกี่ยวข้อง ขอขอบคุณ
|