![]() พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทม จนประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์ จากชาติฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม จนท้อพระทัยว่า พระนามของพระองค์จะถูกลูกหลานในอนาคตติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เงินถุงแดง มรดกจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๓ จึงถูกนำมาเป็น ค่าไถ่แผ่นดิน คืนจากฝรั่งเศส โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่ก็ยังไม่พอกับเงิน ๓ ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดา ไปแลกเป็นเงินเหรียญ รวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสน ไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืนออกไปหลายเที่ยว กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยว มีน้ำหนักมากถึงกว่า ๒๐ ตัน จนทำให้ถนนเป็นรอยสึก สุดท้ายสยามก็ชดใช้เงินให้ฝรั่งเศส ๓ ล้านฟรัง พร้อมกับการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และยึดเอาจันทบุรีกับตราดไว้เป็นประกัน เงินถุงแดง มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ที่ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ ![]() ส่วนเงินกำไร ที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้มาเป็นเงินส่วนพระองค์นี้ มิได้ทรงใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงใดๆ หรือยกให้พระราชโอรสธิดา แต่ทรงนำมาใส่ถุงแดง แยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรทม ส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เพื่อสร้าง และทะนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและภายนอก อีกส่วนหนึ่งก็ทรงยกให้แผ่นดิน มีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง" หมายถึงว่า ถ้าต้องเพลี่ยงพล้ำกับข้าศึกศัตรูแล้ว จะได้นำเงินนี้ออกมาใช้กอบกู้บ้านเมือง พระราชดำรัสนี้น่าประหลาดตรงที่ว่า เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายสิบปี จนถึง ร.ศ. ๑๑๒ ก็เกิดเป็นความจริง เมื่อไทยถูกฝรั่งเศสปรับโทษเป็นเงิน ๓ ล้านฟรัง จนท้องพระคลังมีไม่พอ ก็ได้ ‘ เงินถุงแดง ‘ ส่วนนี้ไปสมทบ ไถ่บ้านเมืองเอาไว้ได้จริงๆ แสดงว่าเงินถุงแดงที่ทรงสะสมไว้ มีจำนวนมากมายทีเดียว สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนพระองค์ จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อประชวรหนักใกล้เสด็จสวรรคต ก็มิได้ทรงพะวงกับเรื่องอื่นนอกจากความสงบสุขของแผ่นดิน ถึงกับพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้า ไว้เป็นครั้งสุดท้ายว่า "การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว" น่าประหลาดอีกเช่นกันว่า ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลในเรื่องนี้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกับเรื่อง เงินถุงแดง เมื่อนึกถึงปัญหาเศรษฐกิจ ความแตกแยกของสังคมไทยในปัจจุบัน แม้เวลาล่วงเลยหลังจากเสด็จสวรรคตมาถึง ๑๔๙ ปีแล้วก็ตาม www.trueplookpanya.com www.khumthong.com |
วิชาการนอกห้องเรียน > ครูนอกห้องเรียน >