![]() เนื่องจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทย (สยาม) มีการค้าขายสินค้ากับประเทศจีน ด้วยการขนส่งสินค้าด้วยเรือสำเภา เวลาไปก็มีสินค้าไทยบรรทุกไปเต็มเรือ แต่เวลากลับ ไม่สามารถเดินทางกลับด้วยลำเรือเปล่าๆ ได้ เนื่องจากจะไม่ปลอดภัย เรือจะไม่มีเสถียรภาพ เนื่องจากเรือสมัยโบาณใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบา และท้องโกลน เมื่อเจอคลื่นลมแรงจะโครงและอาจล่มได้ จึงจำเป็นต้องถ่วงน้ำหนัก ไม่ให้เรือเบาเกินไป ด้วยการซื้อตุ๊กตาจีนแกะสลักจากหินบรรทุกกลับมาด้วย โดยนำตุ๊กตาหินไปไว้ที่ห้องใต้ท้องเรือ ที่เรียกว่า ห้องอับเฉา (Flood chamber) ![]() เมื่อกลับถึงประเทศไทย (ไม่รู้จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร) จึงนำไปถวายวัด เพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ ณ วัดราชโอรสาราม วัดประจำรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีสวนจีนประดับ ตุ๊กตาอับเฉาจำนวนมาก เหตุที่เรียกห้องใต้ท้องเรือนี้ว่าห้องอับเฉา สันนิษฐานว่า ห้องนี้อยู่ในท้องเรือ เป็นทั้งห้องบรรทุกของ และถ่วงเรือไปในตัว ไม่มีใครลงไปอยู่ มีความเงียบเหงา นั่นเอง นอกจากนั้นยังมี ถังอับเฉา ที่เอาไว้เติมน้ำเพื่อถ่วงเรือให้กินน้ำลึกมากขึ้น เวลาออกปฏิบัติการ เรือจะได้วิ่งเต็มที่ท้าคลื่นลมแรงได้มาก ปัจจุบันมีการสร้างเรือที่มีปีกซ้ายขวา การถ่วงเรือแบบเดิมจึงไม่มีความจำเป็น agalmatolite หินตุ๊กตาจีน หินเนื้ออ่อน สีเขียวอมเทา (ภาษาแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ) มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น หินชนิดนี้เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ จะมีเนื้ออ่อน มีความร้อน เมื่อกระทบกับอากาศภายนอกจะขึ้นไอ เหมาะสำหรับแกะสลักเป็นรูปต่างๆ ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ในประเทศไทย ได้แก่ ตุ๊กตาและสิงโตในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดเทพธิดาราม ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน และนำเข้ามาเป็นเครื่องบรรณาการในรัชกาลที่ 2 และที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในขณะขนส่งมานั้นได้ใช้ประโยชน์เป็นอับเฉาเรือด้วย ในประเทศญี่ปุ่น ได้ผลิตเป็นเหมืองหินขนาดใหญ่ เพราะสามารถใช้เป็นคานวางบนพื้นดิน เพื่อรองรับโครงสร้างของอาคาร รวมทั้งใช้สร้างกำแพงด้วย บางแห่งได้มีการแกะสลักหินนี้จากภูเขาทั้งลูก เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น ที่ใกล้กับตำบลมาชิโกะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร อนึ่ง เนื่องจากหินชนิดนี้ มีสารประกอบของเหล็กเป็นส่วนผสมอยู่มาก จึงใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำยาเคลือบเครื่องดินเผา ได้สีน้ำตาลที่สวยงามเป็นพิเศษ ขอขขอบคุณ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3557.0 ขอขอบคุณภาพประกอบ http://www.dhammajak.net/ http://www.singhasquare.com |
วิชาการนอกห้องเรียน > ครูนอกห้องเรียน >