ผู้ที่มีความเสี่ยง คนที่มีรูปเท้าผิดปกติ (เท้าแบน หรือมีส่วนโค้งของฝ่าเท้าที่มากกว่าปกติจะมีความเสี่ยงในการเกิดการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า เพราะรับน้ำหนักไม่เหมาะสม), การสวมรองเท้าส้นสูง ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน หรือ ขนาดของรองเท้าไม่พอดีกับเท้า เช่น คับเกินไป หรือหลวมเกินไป, ผู้ที่อ้วนหรือเริ่มอ้วน หรือน้ำหนักตัวเพิ่มจากการตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดอาการส้นเท้าแตกได้, คนที่จำเป็นต้องยืน เดินเป็นเวลานาน หรือคนที่เล่นกีฬา จะมีการกระแทกส้นเท้าหลายครั้ง เช่น นักวิ่ง นักเต้นรำ เป็นต้น, โรคข้ออักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการข้ออักเสบที่อื่นร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด, โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดี จะส่งผลให้ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและพังผืดฝ่าเท้าลดลง เกิดการบาดเจ็บง่าย การป้องกัน เลือกรองเท้าให้ขนาดพอดีกับเท้า, ใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของเท้า หากบางคนชอบแช่เท้าไม่ควรแช่นานจนเกินไป เพราะจะทำให้เท้าสูญเสียความชุ่มชื้น หรืออาจจะใช้ครีมที่มี “ยูเรีย” ที่จะทำหน้าที่ดูดความชื้นจากอากาศเข้าสู่ผิว ทำให้เท้าไม่แห้ง ทาบริเวณเท้า ซึ่งวิธีทาครีมที่มียูเรียไม่เพียงแต่ใช้ป้องกันเท่านั้น แต่ยังใช้ในการรักษาอาการส้นเท้าแตกได้อีกด้วย การรักษา แช่เท้าในน้ำสบู่ประมาณ 15 นาที ล้างสบู่ออกเช็ดให้แห้ง แล้วใช้วาสลีนประมาณ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำมะนาว 1 ลูก ถูบริเวณที่แตก หรือที่กระด้าง ควรทำเป็นประจำทุกวันจนกว่าจะหาย, ใช้ด้านในของเปลือกกล้วยสุก ทาบริเวณส้นเท้าวันละ 4-5 ครั้ง ทำติดต่อกันประมาณ 4-5 วัน เท้าที่แห้งแตกก็จะชุ่มชื้นขึ้น, นำน้ำมะนาวกับดินสอพองมาผสมกันทาบริเวณที่แตกก่อนนอนทุกคืน |
วิชาการนอกห้องเรียน > อาหารและสุขภาพ >