มะกรูด เป็นพืชตระกูล ส้ม (Citrus) โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมายาวนาน โดยทั่วไปมักจะนิยมใช้ใบมะกรูด และผิวมะกรูด เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
นอกจากจะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่างๆ แล้ว มะกรูดยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงาม และในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ มะกรูด ยังถือเป็นไม้มงคล ที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสารเคมีที่สำคัญในผลมะกรูด คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือก ผล ผิว และใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และใบจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ยังมีจุดเด่นที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่า นั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ สามารถนำใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอก หลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทานั้น สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้มะกรูดช่วยเรื่องผมและศรีษะ - ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูด ยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่าย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
- ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม จากครีมนวดผมหรือทรีทเม้นท์บำรุง ฝุ่นระออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุผมแห้งกรอบ
- เพียงใช้น้ำมะกรูดชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็น จะทำให้ผมเงางาม และมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
- ใช้รักษารังแค และชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาชันนะตุได้
ประโยชน์ของมะกรูด - เนื่องจากน้ำมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอด และมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้ง ก็เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจอีกต่อไป
- ใบมะกรูด และน้ำมะกรูด สามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้ ใช้ในการประกอบอาหาร และแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
- มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อคั้นน้ำแล้ว อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
- ปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูล เพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อยๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
มะกรูดช่วยแก้ปัญหากลิ่น- โดยเฉพาะกลิ่นเท้าเหม็น กลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่าๆกัน นำมาต้มรอให้อุ่น แล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
- การใช้มะกรูดดูดกลิ่นในรองเท้า หรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบาง หรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจด
- ช่วยทำความสะอาดครบตามซอกเท้า เพื่อลดความหมักหมม ด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน สะระแหน่ 1/2 ส่วน น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด- มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง และต้านทานโรค
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
- ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน บดให้เป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อน หรือต้มเป็นน้ำดื่ม
- ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
- ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
- ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
- ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล,ราก)
- ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการนำผลมะกรูด มาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียม และบดจนเป็นผง ละลายกับน้ำผึ้ง ไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
- น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณเหงือก
- ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
- การอบซาวนาสมุนไพร เพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น
วิธีทำชาใบมะกรูดนำใบมะกรูดแก่ๆ 1 กำมือ ประมาณ 7-10 ใบล้างน้ำให้สะอาด ต้มโดยใช้น้ำประมาณ 3 แก้ว เดือดประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มเป็นประจำ เช้า-เย็น แบบน้ำชาได้เลย แต่ถ้าต้องการให้ดื่มง่ายๆ ให้ใส่น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะเพิ่มแล้วแต่ชอบหวานมากหรือน้อยอ้างอิงwww.rspg.or.th, www.learners.in.th , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ข้อมูลจากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง โดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช. ศูนย์บริการการสาธารณสุข |
|