
ความล้มเหลว หรือความสำเร็จของคนเรา อาจเป็นการจุดประกายมาจากคนๆ หนึ่ง เรื่องๆ หนึ่ง แม้แต่คำพูดเพียงไม่กี่คำ หรือเพียงประโยคสั้นๆ อาจดีกว่าคำพรรณนามากมายที่ไร้แก่นสาร
ตั้งแต่อดีต มีผู้คนมากมาย กลายเป็นบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ เพียงเพราะเขาทิ้งคำพูดเพียงไม่กี่ประโยคไว้ เช่น เดล คาร์เนกี้ (24/11/1888-1/11/1955) นักพูดผู้มีศิลปะในการพูด เมื่อครั้งที่เขาเป็นเด็กอายุ 9 ขวบ พ่อพาแม่ใหม่เข้าบ้าน พ่อบอกกับแม่ใหม่ว่า
“หวังว่าคุณจะระวังเด็กแสบคนนี้ให้ดี เขาทำให้ผมกลัดกลุ้มมาก ไม่แน่นะ พรุ่งนี้เช้าเขาอาจเอาก้อนหินปาใส่คุณ หรือทำอะไรร้ายๆ กับคุณก็ได้”
แต่สิ่งที่แม่ใหม่ปฏิบัติต่อคาร์เนกี้นั้น เกินกว่าที่คาร์เนกี้และพ่อของเขาคาดคิดไว้มากมายนัก แม่ใหม่อมยิ้ม และเดินเข้ามาลูบหัวของเขา จากนั้นก็สำรวจเด็กชายตัวน้อย แล้วก็หันไปพูดกับสามีว่า
“คุณผิดแล้วค่ะ เขาไม่ใช่เด็กแสบอะไรเลย แต่เขาเป็นเด็กที่แสนฉลาด เพียงแต่ว่าเขายังไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวเขาเท่านั้นเอง”
เมื่อเด็กชายตัวน้อยได้ยินแม่ใหม่พูดถึงเขาอย่างนี้ น้ำตาของเด็กชายคาร์เนกี้ ก็ไหลพราก เพราะคำพูดของแม่ใหม่ประโยคนั้น ได้เชื่อมสัมพันธภาพ ระหว่างเธอและคาร์เนกี้ให้สนิทชิดเชื้อมากขึ้น และเพราะประโยคนั้นของเธอ ทำให้คาร์เนกี้ มีประกายพลังตั้งมั่นขึ้นในหัวใจ และเพราะคำพูดของเธอประโยคนั้น ทำให้คาร์เนกี้ได้เสริมสร้างผู้คนให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตมากมายทั่วโลก
บทสรุป
เมื่อเด็กชายตัวน้อยได้ยินแม่ใหม่พูดถึงเขาอย่างนี้ น้ำตาของเด็กชายคาร์เนกี้ ก็ไหลพราก เพราะคำพูดของแม่ใหม่ประโยคนั้น ได้เชื่อมสัมพันธภาพ ระหว่างเธอและคาร์เนกี้ให้สนิทชิดเชื้อมากขึ้น และเพราะประโยคนั้นของเธอ ทำให้คาร์เนกี้ มีประกายพลังตั้งมั่นขึ้นในหัวใจ และเพราะคำพูดของเธอประโยคนั้น ทำให้คาร์เนกี้ได้เสริมสร้างผู้คนให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตมากมายทั่วโลก
บทสรุป
คำพูดสั้นๆ ง่ายๆ เพียงไม่กี่คำ อาจก่อประโยชน์ หรือโทษต่อผู้ที่ได้ฟัง อาจทำให้ให้ชีวิตที่กำลังอับเฉา กลับชุ่มฉ่ำใจ ใจที่อ่อนล้าใกล้หมดแรง อาจมีพลังฮึกเหิมต่อไป ในเมื่อคำพูดมีอานุภาพได้ขนาดนี้ เราจึงควรพูดถึงกันให้เป็นบุญปากด้วยสร้างสรรค์ ดังนี้
- พูดให้เกิดปีติ
- พูดให้กิดกำลังใจ
- พูดให้เกิดความมั่นใจ
- พูดให้เกิดชุ่มชื่นหัวใจ
- พูดดีให้มาก พูดร้ายให้น้อย