![]() |
วันนี้ที่จำได้
สวัสดี ประเทศไทย
สวัสดี เป็นคำทักทายของคนไทย ใช้กล่าวเมื่อมาพบกันครั้งแรก หรือบอกลาเมื่อจากกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สวัสดี หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย สวัสดี เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ริเริ่มใช้คือ อาจารย์ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยท่านพิจารณามาจาก "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต หลังจากนั้น วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในสมัยนั้น) เห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ |
สุกียากี้ เพลงดังสะท้านโลก
![]() หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945) หลังญี่ป่นยอมรับการพ่ายแพ้ กองทัพอเมริกันเข้ายึดครองการบริหารจัดการ และล้มล้างกองทัพทั้งหมดของญี่ปุ่น โดยกองทัพ อเมริกันร่วมทำหน้าที่ป้องกันประเทศญี่ปุ่นด้วย กระทั่งถึงปลายปี พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) รัฐสภาไดเอะของญี่ปุ่น ประชุมเพื่อจะต่อสัญญาให้กองทัพอเมริกันต่อไป ท่ามกลางการเดินขบวนคัดค้านของชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่ก็ไม่เป็นผล รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจต่อสัญญาให้กองทัพอเมริกัน ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่อไป เรียวกุสุเกะ อิเอะ ที่ร่วมประท้วงในครั้งนั้น กลับบ้านด้วยความผิดหวัง ขมขื่นใจ และเขาได้แต่งเพลง ที่ต่อมาได้โด่งดังไปทั่วโลก หนุ่มชาวอังกฤษ เดินทางไปญี่ปุ่น และได้ยินเพลงภาษาญี่ปุ่นนี้ และเมื่อได้ฟังเขาไม่เข้าใจความมาย แต่ชมชอบในเมโลดี้และทำนองของเพลง และติดใจเพลงนี้ เหมือนกับที่เขาชอบอาหารญี่ปุ่นเมนูสุกียากี้ เมื่อกลับถึงอังกฤษ เขาเอาเพลงนี้ไปเปิด โดยตั้งชื่อเพลงนี้ว่า สุกี้ยากี้ ซึ่งเป็นอาหารที่เขาชอบ นั่นเอง เมื่อคนเปิดเพลง ชาวอเมริกัน (DJ: Disc Jockey) ได้ยินเพลงนี้จากอังกฤษ ก็นำไปเปิดเผยแพร่ในอเมริกา จนเป็นที่ติดหูชาวอเมริกัน ที่ชมชอบในเมโลดี้และทำนองเพลงเช่นกัน มิถุนายน ปี 2506 เพลง สุกี้ยากี้ คือเพลงที่ขึ้นอันดับ1 บิลบอร์ด ของอเมริกา และโด่งดังไปทั่วโลก พร้อมกับชื่อ นักร้องหนุ่ม เคียว ซากาโมโต้ เพลงที่แสดงออกถึง ความขื่นขม แต่ก็แฝงความหวังในอนาคต หาใช่เพลงรักหวานซึ้งของหนุ่มสาวแต่อย่างใด |
การล่มสลายราชวงศ์ชิง
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีน ที่ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ในทางพุทธ เราเชื่อว่าสรรพสิ่งล้วน อนิจจัง หมายถึง สภาวะธรรมที่มีอยู่จริง เป็นความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก ถือเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 3 ประการของ ไตรลักษณ์ (ลักษณะธรรมชาติที่ไม่แน่นอน 3 ประการ) ในทางการปกครอง การบริหารจัดการที่ล่มสลายล้วนมีที่มาเหมือนกัน 3 ประการเช่นกัน คือ 1) ความแตกแยกในสังคม 2) ผู้นำไม่เข้มแข็ง 3) ถูกแทรกแทรงจากผู้มีอำนาจ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ขาดความสามัคคี" นั่นเอง |
ลือชัย พระเอกเล็บครุฑ ถึงแก่กรรม
22 มี.ค. วันน้ำโลก
![]() แหล่งน้ำจืดที่นำมาดื่มกินและนำมาใช้ประโยชน์ จึงได้มาจากทะเลสาป อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ และสำธาร ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดที่มีอยู่ทั้งหมด และน้ำจืดในปริมาณดังกล่าว ยังมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพปนเปื้อนและมีสารพิษ ต้องทำการบำบัดก่อนนำมาใช้อีกด้วย ในปัจจุบัน มีประชาชนเกือบ 1,400 ล้านคน ทั่วโลก ที่ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 2535 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21 องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน 5 ประการ ได้แก่
|
12 สค. วันแม่แห่งชาติ
ในปี ค.ศ. 1872 จูเลีย วอร์ด ฮาว (Julia Ward Howe) นักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวบอสตัน สหรัฐอเมริกา ต้องการเรียกร้องสันติสุขจากการพบแม่ในวันแม่ ต่อมา มีผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส (Anna Marie Jarvis) คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ แม่ของเธอเสียชีวิตครบ 2 ปีพอดี โดยในปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ.1914) ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และใช้ดอกคาร์เนชั่นเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หากแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่หากแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว วันแม่ในประเทศไทยในประเทศไทย มีการจัดงานวันแม่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังผ่านพ้นวิกฤติสงครามแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้น แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่หลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ เรียกว่า "วันแม่ของชาติ" ดำเนินงานต่อมาหลายปี แต่ก็ไม่ต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ โดยให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น "วันแม่แห่งชาติ" และกำหนดให้ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ ที่ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย เป็นสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เริ่มมีการตั้งคำขวัญวันแม่แห่งชาติขึ้น และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปเผยแพร่เทิดพระคุณแม่ทั่วประเทศ ![]() คำขวัญจากอดีต
![]() ![]() ![]() ![]()
|
8 สค. วันอาเซียน
7 สค. รำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมายไทย
7 สิงหาคม รำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมายไทย รำลึกวันรพี วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุ 45 ปี สมัยพระองค์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างเต็มความสามารถ มิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พระยามานวราชเสวี เคยทูลถามว่า "ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าพระบาทมีพระประสงค์อย่างไร" ทรงตอบว่า "รู้ไหมว่า My life is service" ซึ่งหมายความว่า "ชีวิตของฉันเกิดมา เพื่อรับใช้ประเทศชาติ" ด้วยคุณาณุปการอันล้นพ้น เนติบัณฑิตยสภา ได้ถวายการยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" เมื่อปี พ.ศ. 2497 และได้เริ่มต้นเรียกวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี ว่าเป็น "วันรพี" (ขอขอบคุณ: สำนักงานศาลยุติธรรม - http://www.coj.go.th/day/rapee.html) |
6 สค. ความสูญเสียที่ฮิโระชิมะ
6 สิงหาคม 2488 70 ปี ความสูญเสียที่ฮิโระชิมะ วันที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เป็นผู้สั่งการ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ระหัสของ "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ มีชื่อเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโระชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิ โดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้น ที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโระชิมะ 140,000 คน และที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลง มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าว และในระยะต่อมายังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บ หรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดของทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน - ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย |
1-10 of 15