ข่าวความเคลื่อนไหว QA
ก.อุดมฯ ยกเลิกกรอบ มคอ.3-7 ไฟเขียว ม.ออกแบบหลักสูตรอิสระ
Post audit หมายถึง การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ (Outcome) ของการจัดการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามพันธกิจอุดมศึกษา อันเกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิต การวิจัย/นวัตกรรม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม/ความเป็นไทย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการบริหารจัดการในองค์การ เพื่อพิจารณาว่า ส่วนงานผู้รับผิดชอบ ได้ดำเนินงานตามพันธกิจเหล่านั้นอย่างถูกต้อง และผลของโครงการเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพียงใด [ธงชัย สิทธิกรณ์] |
การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ปี 2558 และ มคอ.
ขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. วศิน อิงคพัฒนกุล ผู้อนุเคราะห์ข้อมูล ติดตามข่าวการศึกษา และประกันคุณภาพ ![]() |
DOE
นโยบายบริหารคุณภาพ อุดมศึกษา
โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร 25 พฤษภาคม 2562 วิกฤตอุดมศึกษาไทย - ปริญญาเสื่อมค่า - มหาวิทยาลัยไทย ยังอยู่ปลายบันได - ความตกต่ำของอุดมศึกษาไทยใน World University Ranking และ World Competitiveness Ranking การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ยุคศตวรรษที่ 21 ฝ่าวิกฤตอุดมศึกษาไทย ด้วยคุณภาพ อาวุธที่ใช้ คือ คุณภาพ THAILAND 4.0: ร่วมกันสร้าง คนไทย 4.0 การสร้างคนไทยคุณภาพยุค 4.0 คุณภาพการเรียนรู้ในยุค 4.0 อุดมศึกษาไทยต้องปรับตัว New Vision for Education พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 - คุณภาพ - คุณภาพคน - Global Professional - คุณภาพคน สู่ คุณภาพงาน - คุณภาพคน สู่ คุณภาพองค์กร มาตรฐานการอดมศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญาตรี การประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน อิงคพัฒนากุล ผู้อนุเคราะห์ข้อมูล |
กระทรวงใหม่ เพื่อการอุดมศึกษา
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ แจ้ง ได้ชื่อ “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” มีผลวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 3. พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 5. พระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 6. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 9. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 |
สนช.ผ่านฉลุยกฎหมายตั้งก.อุดมฯ
สนช.ผ่านฉลุยกฎหมายตั้งก.อุดมฯ 9 ฉบับรวด Source - มติชนออนไลน์ Tuesday, March 5, 2019 16:58 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เหลือจำนวน 9 ฉบับ ในวาระ 2 และ 3 และมีมติเห็นชอบวาระ 3 ทั้งหมด ดังนี้ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพ.ศ… ร่างพ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่…) พ.ศ…. ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอึดมศึกษา (ฉบับที่) พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่..)พ.ศ…. ร่างพ.ร.บ.การบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่…) พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการวิจัย (ฉบับที่…) พ.ศ… ทั้งนี้ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีทั้งหมด 11 ฉบับ โดยก่อนหน้านี้สนช.ได้ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว 2 ฉบับคือ ร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ… และร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ…. นายสมคิดกล่าวต่อว่า สำหรับกฎหมายที่สำคัญซึ่งมีการอภิปรายค่อนข้างมากก่อนลงคะแนนเสียง คือ ร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทวงทบวงกรมฯ เห็นชอบ 126 เสียง งดออกเสียง 4 ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงการอุดมฯ เห็นชอบ 143 เสียง งดออกเสียง 6 ร่างพ.ร.บ.สภานโยบายฯ เห็นชอบ 151 งดออกเสียง 5 ร่างพ.ร.บ.การอุดมฯ เห็นชอบ 144 งดออกเสียง 7 และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เห็นชอบ 137 งดออกเสียง 5 ส่วนที่เหลือเป็นกฎหมายลูกประกอบการจัดตั้งกระทรวงซึ่งไม่มีปัญหา ขั้นตอนจากนี้รอประกาศราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งขึ้น สามารถทำงานได้ทันที โดยจะต้องเตรียมความพร้อมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมฯ ทั้งเรื่องบุคลากรรวมถึงกำหนดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ถูกกำหนดให้มีอายุการทำงาน 3 ปี ที่มา: www.matichon.co.th |
1-10 of 14